โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและเคลือบฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ กลุ่มนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสายหมอ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและเคลือบฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ กลุ่มนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสายหมอ |
รหัสโครงการ | 68-L3067-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 17,630.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวลดาวัลย์ อรรคนันท์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสายหมอ คำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 57 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากจะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเป็นโรคปริทันต์มีผลต่อการเกิดภาวการณ์คลอดก่อนกำหนดและเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อยแม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลาย และจากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทยพบว่าช่วงอายุ 0-4 ปี เป็นช่วงที่อัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงวัยสำคัญที่สุดในการป้องกันฟันผุ เพราะวัยนี้ถ้าช่องปากไม่สะอาดจะเอื้อต่อการเกิดคราบจุลินทรีย์ ทำให้เกิดฟันผุอย่างรวดเร็วส่งผลให้เด็กมีฟันผุทั้งปากแต่ถ้าช่วงวัยนี้ช่องปากสะอาดมีแนวโน้มว่าเด็กจะฟันผุน้อย หรือปราศจากฟันผุการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ ได้แก่การควบคุมอาหารหวานและการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับการป้องกันโรคฟันผุโดยเน้นการตรวจคัดกรองเด็ก ที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ เพื่อทาฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง เช่น ฟลูออไรด์วานิช
ผลจากการตรวจสุขภาพช่องปากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา ปี พ.ศ. 2567 พบว่า เด็กเล็กมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 71.50 ฟันปกติร้อยละ 28.50 จะเห็นได้ว่า เด็กเล็กมีฟันน้ำนมผุลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 1.08
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและเคลือบฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ ในเด็ก 0-4 ปี ซึ่งเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเด็กที่ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
2 | เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
3 | เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพื่อป้องกันฟันน้ำนมผุ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพื่อป้องกันฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 50 |
30.00 | 50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 17,630.00 | 0 | 0.00 | 17,630.00 | |
3 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ | 0 | 10,980.00 | - | - | ||
3 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ทาฟลูออไรด์วานิช | 0 | 6,650.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 17,630.00 | 0 | 0.00 | 17,630.00 |
- เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80
- เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 80
- ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพื่อป้องกันฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 50
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 12:53 น.