เรียนดี มีความสุข สถานศึกษาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพของโรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปี 2568
ชื่อโครงการ | เรียนดี มีความสุข สถานศึกษาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพของโรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3333-02-20 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนวัดแหลมดินสอ |
วันที่อนุมัติ | 10 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 11 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเพ็ญพักตร์ แก้วประดิษฐ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายกำพล เศรษฐสุข |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 58 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 12 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2540 ระบุว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่หลักในการ พัฒนาคนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ รวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรมอันดี สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข นักเรียนในโรงเรียนอาจมีโอกาสสัมผัสโรคหรือแพร่เชื้อได้สูง เป้าหมายการพัฒนาดำเนินงานอนามัยโรงเรียนยังให้ความสำคัญกับเด็กที่มาอยู่รวมกันในสถานศึกษา ให้สามารถพัฒนาตนเองใน ทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ ร่างกาย และการปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ และสิ่งแวดล้อมใหม่ มีสิทธิ์ในการได้รับการบริการด้านสุขภาพเท่าเทียมกัน ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีกับครอบครัว บุคคลใกล้เคียงตลอดจนป้องกันไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน และดูแลตนเองได้เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย
ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน ดูแล และให้ความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพกายและจิตของนักเรียน นักศึกษา ครู และบุคลากร ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เริ่มจากความสุข ทั้งผู้เรียน ผู้สอน และผู้ปกครอง จะส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะที่สมบูรณ์ ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะชีวิต โดยมีครูคอยเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ดูแลช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ค้นหาและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้สามารถบรรลุความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ด้วยความสุข ความเข้าใจตนเอง พร้อมสุขภาพกายและจิตที่สมบูรณ์ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคม
ทางงานอนามัยโรงเรียนซึ่งมีหน้าที่เฝ้าระวังการเกิดปัญหาสุขภาพ และดูแลปฐมพยาบาลผู้เรียนในเบื้องต้น จึงได้กำหนดกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ และภาวะสุขภาพของตนเอง ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การให้ความรู้ การตรวจสุขภาพ การดูแลภาวะโภชนาการ การประกันอุบัติเหตุ ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพกายที่สมบูรณ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป
ดังนั้น จากเหตุผลความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนวัดแหลมดินสอจึงจัดทำโครงการ เรียนดี มีความสุข สถานศึกษาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ ของโรงเรียนวัดแหลมดินสอ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 350 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | |
11 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง“สถานศึกษาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ” | 70 | 3,827.00 | - | ||
11 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการเพาะเห็ด การปลูกพืชผักสวนครัว และการทำปุ๋ยหมัก | 70 | 6,173.00 | - | ||
11 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดกิจกรรม การเพาะเห็ด และปลูกพืชผักสวนครัว บริเวณโรงเรียน เพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารกลางวันของนักเรียน | 70 | 0.00 | - | ||
11 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ในการบำรุงพืชผักสวนครัว | 70 | 0.00 | - | ||
11 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประเมินและสรุปผผลการดำเนินโครงการ | 70 | 0.00 | - |
- ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนได้รับความรู้ เรื่อง“สถานศึกษาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ”
- ผู้บริหาร คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีทักษะการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติต่างๆที่มีกระทบต่อสุขภาพ
- นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวัน ด้วยผลผลิตจากเกษตรพอเพียงและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปราศจากสารเคมี ลดการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 13:03 น.