กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนโกตาบารูรู้จักนับคาร์บ ต้านโรค NCDs ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางคอรีเยาะ สลีมิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเพิ่มขึ้นของประชากรที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และอายุที่มากขึ้น นำมาซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง        เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง คาดว่าความชุก ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5.3 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2583 ซึ่งโรคเบาหวานที่ดูแลรักษาได้ไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น โรคไต และการถูกตัดเท้าหรือขา โรคติดต่อเคยเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และทุพพลภาพทั่วโลก แต่เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) กำลังจะกลายเป็น สาเหตุหลัก มากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศไทย มีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมถึงเบาหวาน ในปี 2563 พบว่ามีการเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เป็นจำนวน ประมาณ 76,000 ราย หรือมากกว่า 200 รายในแต่ละวัน ในประเทศไทยคาดว่ามีเพียงร้อยละ 57 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับ การวินิจฉัย ซึ่งส่วนใหญ่ ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจะได้รับการรักษามีเพียงร้อยละ 35.6 ของผู้ที่ได้รับการรักษา ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้      วิถึชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ          การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน      โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุ การนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การสร้างความตระหนักให้คนไทยเห็นความสำคัญของการป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs เป็นประเด็นที่ สสส. ขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายจนเป็นที่ยอมรับ สอดคล้องกับนโยบาย สธ. ที่ต้องการให้คนไทยตระหนัก      การป้องกันโรค โดยเฉพาะการเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรต หรือ “คาร์บ” ที่ต้องพอดี เพราะคาร์บจะกลายเป็นน้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ทำลายโปรตีนในเม็ดเลือด ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อขับของเสีย เป็นต้นเหตุของโรค NCDs อาทิ หลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดัน ในประเด็นนี้ต้องสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสังคมอย่างเข้มข้น ซึ่งหารือกับ สสส. เดินหน้าขับเคลื่อนร่วมกับ สธ. ในการสื่อสารรณรงค์สังคมให้เกิดรูปธรรมร่วมกัน ทั้งการเลือกทานอาหาร ออกกำลังกาย การดื่มเหล้า บุหรี่ รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้า ตรงนี้หากสังคมตระหนักและเข้าใจจะช่วยลดการบริโภคได้ จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโกตาบารู ในปีงบประมาณ 2567 การคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,964 คน คัดกรองได้ 1,778 คน คิดเป็นร้อยละ 90.53 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 1.74 และ จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อ      โรคความดันโลหิต เป้าหมายประชากร 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,710 คน คัดกรองได้ 1,483 คน คิดเป็นร้อยละ 86.73 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิต จำนวน 225 คน คิดเป็นร้อยละ 15.17 (ข้อมูล HDC ณ วันที่ 10/02/68) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโกตาบารู ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ “ชุมชนโกตาบารูรู้จักนับคาร์บ ต้านโรค NCDs ประจำปีงบประมาณ 2568” ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วย ตาย ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทั้งในกลุ่มประชากรที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดโครงการ “ชุมชนโกตาบารูรู้จักนับคาร์บ ต้านโรค NCDs” ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้    การสร้างความร่วมมือในชุมชน และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน/จัดประชุมอบรม(24 มี.ค. 2568-24 มี.ค. 2568) 0.00              
รวม 0.00
1 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน/จัดประชุมอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 90     2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองได้อย่าง
    ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้ ร้อยละ 90       3.จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลงจากปีที่ผ่านมา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 13:24 น.