กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผมสะอาดปราศจากเหา โรงเรียนวัดประดู่
รหัสโครงการ 68-L7251-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดประดู่
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฉัตรนภา สุวรรณรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรงเรียนมีนักเรียนในระดับประถมศึกษาและระดับอนุบาลจำนวนมากมีปัญหาเรื่องโรคเหา โดยเฉพาะนักเรียนผู้หญิงซึ่งเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดของศีรษะ โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิใน การเรียน เสียบุคลิกภาพ เนื่องจากคันหนังศีรษะ ยังเป็นพาหนะนำไปติดต่อผู้อื่นต่อไป ดังนั้นการแก้ไขปัญหาโรคเหา เป็นปัญหาด้านการเรียนและบุคลิกภาพกับนักเรียน กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ่อตรุร่วม  กับโรงเรียนวัดประดู่มีความตระหนักในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขเพิ่มขึ้น จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาในโรงเรียนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีผมที่สะอาดปราศจากโรคเหาบนศีรษะ

 

2 เพื่อให้ผู้ปกรองและนักเรียนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลความสะอาดบนศีรษะ

 

3 เพื่อให้นักเรียนดูแลความสะอาดของศีรษะ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุม วางแผน ดำเนินงานและมอบหมายผู้เกี่ยวข้อง
  2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาโรคเหา
  3. ดำเนินกิจกรรมตามแผน     3.1 ให้ความรู้เรื่อง โรคเหา ที่จะช่วยป้องกันโรคเหากับนักเรียน     3.2 ครูที่ปรึกษา สำรวจนักเรียนที่เป็นโรคเหา
        3.3 ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง เพื่อขออนุญาตกำจัดโรคเหา
  4. ปฏิบัติการกำจัดเหา     4.1 ทำการสาธิตการแก่นักเรียนที่ต้องการกำจัดโรคเหาโดยใช้เวชภัณฑ์ยาอย่างถูกวิธี     4.2 นักเรียนที่ต้องการกำจัดโรคเหา ใช้เวชภัณฑ์ให้ถูกต้องตามสาธิต     4.3 ประสานงานผู้ปกครอง กำกับดูแลให้ปราศจากโรคเหา     4.4 กำกับ ติดตามการดำเนินงานการกำจัดเหา ค้นหารายใหม่และกำจัดหิดและเหาซ้ำในรายที่เป็นอยู่     4.5 ครูที่ปรึกษา ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการรักษาความสะอาดของเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
          จนกระทั่งนักเรียนปลอดหิดและเหาไม่กลับมาเป็นอีก
  5. สรุปผลการดำเนินงาน  : เสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ่อตรุ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีผมที่สะอาดและปราศจากหิดและเหาบนศีรษะ
  2. ผู้ปกครองและนักเรียนมีความตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลความสะอาดบนศีรษะและร่างกาย
  3. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลความสะอาดชองร่างกายและศีรษะได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 13:48 น.