โครงการเสริมสร้างความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก |
รหัสโครงการ | 68-L1528-1-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน |
วันที่อนุมัติ | 14 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,180.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางภัทรศิรา ฐิติกรกิจ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.803,99.668place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะของคนไทยอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรรปรุงแต่ง พัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย มีลักษณะเป็นองค์รวม และมีคุณค่าทางวัฒนธรรม ปี 2568 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก มีกลยุทธ์ ๓ สร้าง ในการยกระดับภูมิปัญญาไทย คือ 1. สร้างความร่วมมือ 2. สร้างความเชื่อมั่น 3. สร้างมาตรฐานและยกระดับบริการ ยกระดับภูมิปัญญาไทย ส่งเสริมการใช้แพทย์แผนไทย และสมุนไพรทางการแพทย์ จากข้อมูลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ พบมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต จำนวน 30 ราย และพบผู้ป่วยมารับบริการด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ จำนวน 354 คน การประคบสมุนไพรเป็นวิธีการรักษาโรคทางกล้ามเนื้อ และอัมพฤกษ์ อัมพาตอีกวิธีหนึ่ง ช่วยบรรเทาอาการปวดเคล็ดขัดยอกได้ และช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นแล้ว ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ตัวยาซึมผ่าน ผิวหนังได้ดีขึ้น อีกทั้งกลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยยังช่วยให้เกิดความสดชื่น รวมทั้งเป็นการลดการใช้ยาแผนปัจจุบันอีกด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปูน จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการสืบทอดภูมิปัญญาไทยและเพื่อให้ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และปวดกล้ามเนื้อ สามารถบรรเทาอาการปวดเคล็ดขัดยอกได้ จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และสามารถนำผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรแห้ง ไปใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยของตนเองและผู้อื่นได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และมีความรู้เรื่อง ประโยชน์ ส่วนประกอบและวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และมีความรู้เรื่อง ประโยชน์ ส่วนประกอบและวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร |
||
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน มีผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน จำนวน 1 อย่าง ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพรแห้ง |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1. อบรมให้ความรู้เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และและมีความรู้เรื่องประโยชน์ ส่วนประกอบและวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร 2.กิจกรรมจัดทำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพรแห้ง(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) | 15,180.00 | ||||||||||||
รวม | 15,180.00 |
1 1. อบรมให้ความรู้เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และและมีความรู้เรื่องประโยชน์ ส่วนประกอบและวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร 2.กิจกรรมจัดทำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพรแห้ง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 50 | 15,180.00 | 0 | 0.00 | 15,180.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | 1. อบรมให้ความรู้เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และและมีความรู้เรื่องประโยชน์ ส่วนประกอบและวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร 2.กิจกรรมจัดทำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ ลูกประคบสมุนไพรแห้ง | 50 | 15,180.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 50 | 15,180.00 | 0 | 0.00 | 15,180.00 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่อง ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และมีความรู้เรื่อง ประโยชน์ ส่วนประกอบและวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร 2.กลุ่มเป้าหมายสามารถทำลูกประคบสมุนไพรแห้งได้ และสามารถนำไปใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยของตนเองและผู้อื่นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 14:19 น.