โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย
ชื่อโครงการ | โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย |
รหัสโครงการ | 68-L8018-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 มิถุนายน 2568 |
งบประมาณ | 5,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุรัมภา กังฮา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.241,99.753place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสถานการณ์ไข้เลือดออกได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้น ต้องตัดวงจรการติดต่อของโรคอย่างทันท่วงที ซึ่งในปัจจุบันนี้ใช้วิธีการพ่นฟุ้งกระจาย ชนิดถูกตัวตายเพื่อกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค การพ่นเคมีจะเกิดผลดีและมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดของสารเคมี คุณภาพเครื่องพ่นสารเคมี เทคนิคการพ่นสารเคมี และสภาพแวดล้อมขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกนั้น มีชีวนิสัยและพฤติกรรมชอบเกาะพักตามสิ่งห้อยแขวนมากกว่าฝาผนังและบนพื้นมักออกหากินกลางวัน ดังนั้น การพ่นเคมีเพื่อควบคุมกำจัดยุงลายจึงต้องใช้เทคนิคที่ทำให้ละอองน้ำยาลอยฟุ้งคลุมพื้นที่ได้นานพอที่ยุงจะบินมาสัมผัสสารเคมีได้ การพ่นเคมีอาจทำได้ 2 วิธี คือ การพ่นเคมีด้วยเครื่องพ่นระบบหมอกควัน และการพ่นเคมีด้วยเครื่องพ่นระบบฝอยละเอียด ซึ่งเครื่องพ่นทั้ง 2 ระบบ ดังกล่าวมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน การบำรุงรักษาเครื่องพ่นเคมีเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดีอยู่เสมอและมีความคงทนอยู่ได้นาน เนื่องจากมีราคาแพง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้หน่วยงานทั้งนอกและในกระทรวงสาธารณสุข มีการนำเครื่องพ่นเคมีมาใช้กันเป็นจำนวนมากทั้งชนิดหมอกควันและฝอยละเอียด และบ่อยครั้งที่เครื่องพ่นเหล่านั้นเกิดปัญหาเมื่อนำมาใช้งานซึ่งส่งผลถึงการดำเนินงานควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย”
ให้แก่เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และแกนนำสุขภาพ ในเรื่องการใช้สารเคมีและซ่อมบำรุงรักษาเครื่องพ่นเคมีขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวสามารถดำเนินการพ่นเคมีได้ถูกต้องและซ่อมบำรุงเครื่องพ่นเคมีเบื้องต้นได้ อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องพ่นหมอกควันที่ถูกต้อง ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องพ่นหมอกควันที่ถูกต้อง |
||
2 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้เครื่องพ่นหมอกควันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง ผู้เข้าร่วมอบรมใช้เครื่องพ่นหมอกควันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง |
||
3 | เพื่อให้การควบคุมโรคไข้เลือดออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรม ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย(17 มี.ค. 2568-17 มี.ค. 2568) | 5,850.00 | ||||
รวม | 5,850.00 |
1 กิจกรรม ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 15 | 5,850.00 | 1 | 5,850.00 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย | 15 | 5,850.00 | ✔ | 5,850.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 15 | 5,850.00 | 1 | 5,850.00 | 0.00 |
- ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องพ่นหมอกควันที่ถูกต้อง
- ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้เครื่องพ่นหมอกควันด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2568 15:16 น.