โครงการหนูน้อยฟันดีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยฟันดีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม |
รหัสโครงการ | 68-L7251-03-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม |
วันที่อนุมัติ | 14 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | - |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 9,230.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางบุหลัน เปลี่ยนศิลปชัย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุสามารถพบได้ ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 - 3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรหลานที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงกาการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี และ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย ฟันน้ำนมที่เสียถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันเอียงเข้าหาช่องว่างทำให้ฟันแท้ที่จะแท้แทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิดซ้อนกัน หรือทัขานาดใหญ่ไม่เหมาะกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก ในปีการศึกษา 2567 นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม มีฟันผุ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 40 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันดีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยทุกคนมีสุขภาพฟันที่ดี ได้รับการบริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษาบริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล ทั้งนี้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม ครู ผูดูแลเด็กและผู้ปกครอง มีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย เมื่อเด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายสุขภาพจิตที่สมบูรณ์ จะส่งผลทำให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม
|
||
2 | เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยช่องปากและป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยด้วยการเรียนรู้การแปรงฟัน อย่างถูกวิธี
|
||
3 | เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก และชุมชนในการป้องกันโรคฟันน้ำนมผุในเด็กปฐมวัย
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- จัดประชุมครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
- จ่ัดทำและขออนุมัติโครงการ และขอความร่วมมือในการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เตรียมข้อมูล เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการดำเนินงาน
- จัดกิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการ ดังนี้ - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันของเด็กเล็กให้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้อง - สาธิตพร้อมฝึกปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ - ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากแก่เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม โดยทันตกรรมจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ - วิทยากรแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยช่องปาก การป้องกันโรคฟันผุ สอนวิธีการแปรงฟันให้เด็กเล็ก และรณรงค์การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน - ประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ
- จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพฟันแข็งแรงและมีสุขนิสัยที่ดี
- เด็กปฐมวัยมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพฟัน และสุขนิสัยที่ดีในการแปรงฟันในชีวิตประจำวันที่ถูกต้องสำหรับเด็ก ตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2568 10:02 น.