โครงการจัดตั้งธนาคารขยะตำบลสุคิริน
ชื่อโครงการ | โครงการจัดตั้งธนาคารขยะตำบลสุคิริน |
รหัสโครงการ | 68-L8281-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลสุคิริน |
วันที่อนุมัติ | 1 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 9,320.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายจิตติพัฒน์ ปัทมินทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นาย อายิ หะมาดุลลาห์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.916858,101.718614place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ประชาชนในชุมชนไม่มีการคัดแยกขยะในชุมชน | 1,048.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระสำคัญของประเทศที่ไม่เพียงต่อส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่ยังรวมถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของประชาชนจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรของอย่างมีคุณค่าและต้องมีการบูรณาการ ความร่วมมือของทุกฝ่าย เช่น หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชนทุกคน โดยสอดรับการนโยบายด้านการจัดการขยะของประเทศตามแผนปฏิบัติด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2565-2570) ที่ได้กำหนดกรอบและทิศทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศซึ่งมุ่งเน้นให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน โดยสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะที่ต้นทางภายใต้หลักการ 3Rs คือ ใช้น้อยลง ใช้ซํ้า นำกลับมาใช้ใหม่ และรณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจและจิตสำนึกให้ประชาชนในทุกพื้นที่มีส่วนร่วม ในการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ และพัฒนาไปสู่การจัดตั้งธนาคารขยะในระดับชุมชนหรือหมู่บ้านเพื่อการจัดสรรสวัสดิการสังคมแก่ประชาชน ประกอบกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 5 กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นต้องรณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสํานึก ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการลดปริมาณ และคัดแยกมูลฝอย เพื่อนำกลับ มาใช้ใหม่ มีความตระหนักรู้ และรับผิดชอบในการจัดการมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดมูลฝอย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกต้องในการจัดตั้งธนาคารขยะ |
1048.00 | 300.00 |
2 | 2.เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี สามารถลดปริมาณขยะในครัวเรือนและในชุมชนได้รวมทั้งมีการบริหารจัดการขยะได้ด้วยตนเอง |
1048.00 | 300.00 |
3 | เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน มีธนาคารขยะ 1 แห่ง |
1.00 | 1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 9,320.00 | 0 | 0.00 | |
7 พ.ค. 68 | -กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก ขยะรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกต้องเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารขยะ | 0 | 4,020.00 | - | ||
7 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนการจัดตั้งธนาคารขยะในพื้นที่ตำบลสุคิริน | 0 | 5,300.00 | - |
1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างถูกต้องในการจัดตั้งธนาคารขยะ 2.สามารถลดปริมาณขยะในครัวเรือนและในชุมชนได้รวมทั้งมีการบริหารจัดการขยะได้ด้วยตนเอง 3.มีการจัดตั้งธนาคารขยะ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2568 00:00 น.