โครงการกายฟิต จิตดี ชีวีมีสุข
ชื่อโครงการ | โครงการกายฟิต จิตดี ชีวีมีสุข |
รหัสโครงการ | 68-L8018-02-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมตลาดสดเทศบาลตำบลทุ่งยาว |
วันที่อนุมัติ | 12 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 7,550.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมตลาดสดเทศบาลตำบลทุ่งยาว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.241,99.753place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาเป็นเพียงแค่การประคับประคองไม่ให้โรคลุกลามขึ้น และผู้ป่วยต้องรับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือส่วนใหญ่ต้องรักษาไปตลอดชีวิต ซึ่งนอกจากจะบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตแล้ว ยังเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของตัวผู้ป่วยเอง และส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย โรคเรื้อรังนั่นคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผักและผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติด เป็นต้น การดูแลตนเองทั้งร่างกาย และจิตใจ ด้วยวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง คือการดูแลตนเองให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงบนพื้นฐานของชีวิตที่ดี การมีร่างกายที่แข็งแรงช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังและช่วยเพิ่มพลังงานในการทำงานและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน การมีสุขภาพจิตที่ดีช่วยให้รับมือกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ทำให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นและมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับผู้อื่น การมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีช่วยให้เกิดความสมดุลในชีวิต ความสุขเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตมีคุณค่าและความหมายคนที่มีความสุขมักมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีอายุยืนยาว
ดังนั้น ชมรมตลาดสดเทศบาลตำบลทุ่งยาว จึงได้จัดทำ “โครงการกายฟิต จิตดี ชีวีมีสุข” เพื่อเป็นการสร้างสุขภาพดี ให้ประชาชนในชุมชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม กลุ่มเสี่ยงก็ไม่ป่วย กลุ่มป่วยก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา โดยอาศัยการดูแลตนเองทั้งร่างกาย และจิตใจ ด้วยวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทยวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับประเมินค่า BMI ก่อนเข้าอบรม เพื่อบ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับประเมินค่า BMI ก่อนเข้าอบรม เพื่อบ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ |
||
2 | ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพด้วยวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพด้วยวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง |
||
3 | มีทักษะและสามารถถ่ายทอด ในการนำไปปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนด้วยหลักวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะและสามารถถ่ายทอดในการนำไปปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนด้วยหลักวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรม อบรมตามโครงการกายฟิต จิตดี ชีวีมีสุข(1 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 7,550.00 | |||||||
รวม | 7,550.00 |
1 กิจกรรม อบรมตามโครงการกายฟิต จิตดี ชีวีมีสุข | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 60 | 7,550.00 | 0 | 0.00 | 7,550.00 | |
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ครั้งที่ 1 | 30 | 5,000.00 | - | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ครั้งที่ 2 | 30 | 2,550.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 60 | 7,550.00 | 0 | 0.00 | 7,550.00 |
- ผู้เข้าร่วมอบรมได้ประเมินค่า BMI ก่อนเข้าอบรม เพื่อบ่งบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ
- ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพด้วยวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
- ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะและสามารถถ่ายทอดในการนำไปปฏิบัติดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนด้วยหลักวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2568 13:40 น.