ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDS ตำบลสาบัน ปี 2568
ชื่อโครงการ | ศูนย์คนไทยห่างไกล NCDS ตำบลสาบัน ปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสาบัน |
วันที่อนุมัติ | 4 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 17,650.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นาย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 23.15 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 15.81 | ||
3 | ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 | 21.63 | ||
4 | ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 | 51.60 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค NCDs สูงกว่า 62,138 ล้านบาท ในปี 2560และมีคนไทยต้องเสียชีวิตจากโรค NCDs ปีละกว่า 400,000 ราย กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายแก้ไขปัญหา โดยผลักดันการส่งเสริมสุขภาพและแนวคิดวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีไปสู่การปฏิบัติNCDs สนับสนุนแนวคิดสุขภาพดี สิทธิประโยชน์เพิ่ม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs เพื่อลดอัตราการป่วยก่อนเข้าสู่ระบบการรักษาเนื่องจากคนในชุมชน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง –โรคเบาหวาน เพื่อมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน และได้ตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCD ขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงภัยเงียบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดขึ้นจากโรคใด ไม่แพร่เชื้อจากคนสู่คน แต่ก็เกิดจากนิสัยและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภค การไม่ออกกำลังกาย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นภัยเงียบ เมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ก็ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จนเป็นเรื้อรังของโรคอีกด้วย เพื่อการป้องกันไม่ให้โรคเป็นเรื้อรังเพิ่มขึ้น จึงได้ตั้งศูนย์ NCD ขึ้น เพื่อให้ความรู้ในกลุ่มโรค NCDS ประกอบด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นประชากรที่มีคุณภาพของชุมชน อำเภอยะหริ่งมีคนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease : NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันสูง โรคไตเรื้อรัง เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น กินอาหารหวานจัด เค็มจัด ไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ นอนดึก มีความเครียดสูง เป็นต้น ทำให้เกิดความสูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 1.6 ล้านล้านบาท จากค่ารักษาพยาบาลทางตรงและความสูญเสียทางอ้อม เพื่อให้คนไทยห่างไกลโรคติดต่อไม่เรื้อรัง(NCDs) โดยมีการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ ลดความรุนแรงการเจ็บป่วยในผู้ป่วยรายเก่า และลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนต่อไป ตำบลสาบันมีกลุ่มเสี่ยงโรคตวามดันโลหิตสูง-เบาหวาน และกลุ่มผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 45 ของประชากรในพื้นที่ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เป็นไปตามแพทย์แนะนำ จึงส่งผลให้มีกลุ่มเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง |
23.15 | 15.00 |
2 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง |
15.81 | 10.00 |
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีปีงบประมาณ 2568 |
21.63 | 40.00 |
4 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ปีงบประมาณ 2568 |
51.60 | 60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 17,650.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 30 เม.ย. 68 | ประชุมทีมงานเพื่อชี้แจ้ง กำหนดรูปแบบและหาแนวทางการจัดกิจกรรม | 0 | 3,400.00 | - | ||
15 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | kick off ศูนย์คนไทยห่างไกลNCDs | 0 | 14,250.00 | - |
1.มีศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ที่มีคุณภาพ 2.กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3.มีผู้ป่วยรายใหม่ลดลง 4.ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและเป็นโรคมีความตระหนักมากขึ้น และอัตราการใช้ยาในผู้ป่วยลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2568 14:23 น.