โครงการเยาวชนปลอดยาเสพติด ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเยาวชนปลอดยาเสพติด ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8302-2-20 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มญาลันนันบารูตำบลมะรือโบตก |
วันที่อนุมัติ | 11 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,890.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายหาซัน ยาซูโกะ นางนารีนี ยูโซ๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | เทศบาล ตำบลมะรือโบตะวันตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด | 65.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติดเป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม "ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ชุมชนยังมีบทบาทหน้าที่และภารกิจอีกหลายด้าน รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ มากยิ่งขึ้น
ทางชมรมญาลันนันบารูตำบลมะรือโบตก จึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนปลอดยาเสพติดขึ้น และขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลมะรือโบตก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด |
65.00 | 35.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดแก่เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ | 0 | 21,140.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ค. 68 | ป้ายโครงการ | 0 | 750.00 | - | ||
รวม | 0 | 21,890.00 | 0 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ(ออกแบบรายละเอียด)
กิจกรรมดำเนินงาน
ส่วนที่ ๑
๑. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการ ชมรมญาลันนันบารูตำบลมะรือโบตก เพื่อร่วมจัดทำโครงการ
๒. ดำเนินการจัดทำโครงการและเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ และดำเนินการตามโครงการ
ส่วนที่ ๒
๑. ประชุมกรรมการชมรมญาลันนันบารูตำบลมะรือโบตก เพื่อดำเนินการ
๒. แจ้งกลุ่มเป้าหมายแก่สมาชิกชมรมญาลันนันบารูตำบลมะรือโบตก เพื่อเชิญเข้าร่วมอบรมโครงการฯ
๓. ประสานวิทยากร
๔. ดำเนินการตามกิจกรรม
๕. สรุปโครงการรายงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก
ติดตามความก้าวหน้าของโครงการหลังดำเนินการ
1.เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็ก และเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2.เด็กและเยาวชนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่ตนเอง และครอบครัว ตลอดจนร่วมการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับสถานศึกษา และชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2568 14:47 น.