โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1523-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 15,238.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 15-24ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นและ การเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ซึ่งประเทศไทย ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 4 กันยายน 2567 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 72,157 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 3,828 ราย) อัตราป่วย 109.11 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่า ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 2.1 เท่า และมากกว่า ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ปี พ.ศ. 2562–2566) 1.08 เท่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสม 5 อันดับแรก คือ จังหวัดเชียงราย, จังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดน่าน และจังหวัดลำพูน ตามลำดับ อัตราป่วยสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 5 -14 ปีอายุ 15 -24 ปี และอายุ 0 - 4 ปี ตามลำดับ ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน จำนวน 52ราย อัตราป่วยตายร้อยละ0.07 ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตอายุอยู่ระหว่าง5 –14 ปี ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่ ไปรักษาช้า มีภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว ตามลำดับ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสารณสุข สัปดาห์ที่ 34 ระหว่างวันที่ 1-17 กันยายน 2567) จากข้อมูลการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2565 - 2567) ที่ผ่านมาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน มีผู้ป่วยเป็นไข้เลือด ในปี พ.ศ.2565 จำนวน 2 ราย อัตราป่วย คิดเป็น 106.33 ต่อแสนประชากร พบในพื้นที่ ม.2 และ ม.7 ปี พ.ศ.2566 จำนวน 9 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 484.39 ต่อแสนประชากร พบในพื้นที่ ม.1 จำนวน 2 ราย ม.2 จำนวน 4 ราย และ ม.7 จำนวน 3 ราย และ ปี พ.ศ. 2567 พบผู้ป่วยจำนวน 5 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 267.38 ต่อแสนประชากร พบในพื้นที่ ม.2 จำนวน 3 ราย และ ม.7 จำนวน 2 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบ คือ อายุ 7- 15 ปี และ อายุ 30 – 60 ปี (ที่มา : รายงาน 506 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิเกา ณ ปี พ.ศ 2565 - 2567) ซึ่งพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญจึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้ในพื้นที่การที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อลดการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขอนามัย ในครัวเรือนที่ถูกต้องห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อสร้างทีมเฝ้าระวังมีความพร้อมในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชุน 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในทุกกลุ่มอายุ และ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ 1.ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านมีทีมเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2.ร้อยละ 80 ของประชาชนในครัวเรือนมีความรู้และส่วนร่วมในควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน |
1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,238.00 | 0 | 0.00 | 15,238.00 | |
19 ก.พ. 68 | กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของชุมชนในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้แก่ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคในชุมชน | 0 | 5,490.00 | - | - | ||
19 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่ลำคัญ แจกแผ่นพับให้ความรู้ ในชุมชน โรงเรียน โดยทีมเฝ้าระวังควบคุมโรค ทั้ง 3 หมู่บ้าน (ม.1 ม.2 และ ม.7) | 0 | 4,768.00 | - | - | ||
19 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 3 วัสดุการควบคุมและป้องกันโรค ได้แก่ สเปรย์กำจัดยุง/โลชั่นทากันยุง (สนันสนุนเฉพาะในกรณีครัวเรือนเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออก) บ้านผู้ป่วยและบ้านที่อยู่ในรัศมี 100 เมตร | 0 | 4,980.00 | - | - | ||
19 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมที่ 4 อสม ติดตามและประเมินผลความชุกของลูกน้ำ เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน โดยสรุปจากการรายงานลูกน้ำยุงลายผ่าน สมาร์ท อสม.เพื่อนำมาวิเคราะห์ในแต่ละหลังคาเรือน ในแต่ละสัปดาห์ | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 15,238.00 | 0 | 0.00 | 15,238.00 |
2.1 ระยะเตรียมการ
2.1.1 ชี้แจงโครงการรายละเอียดโครงการ แก่ อาสาสมัครสารณสุข แกนนำเครือข่ายสุขภาพ และสำรวจหลังคาเรือนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคล เพื่อสร้างทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคในชุมชน
2.2 ระยะดำเนินการ แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม หลัก ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของชุมชนในการควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้แก่ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคในชุมชน โดยบรูณาการเสริมสร้างความรู้ ความเข้มแข็งในวางแผนระบบเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยเสริมสร้างองค์ความรู้ผ่านสื่อแผ่นพับให้ความรู้ ในชุมชน โรงเรียน โดยทีมเฝ้าระวังควบคุมโรค ทั้ง 3 หมู่บ้าน เป็นจำนวน 689 ครัวเรือน
กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนวัสดุในการควบคุมและป้องกันโรค ได้แก่ สเปรย์กำจัดยุง/โลชั่นทากันยุง หมายเหตุ **(สนับสนุนในกรณีเกิดการระบาดโรคไข้เลือดออก) ** โดยสนับสนุนเฉพาะครัวเรือนดังนี้
- บ้านผู้ป่วย สนับสนุนสเปรย์กำจัดยุง จำนวน 2 กระป๋อง เพื่อพ่นกำจัดยุงในบ้านผู้ป่วยทันทีภายใน 1 ชั่วโมง หลังรับทราบผู้ป่วยในครัวเรือนนั้นและโลชั่นทากันยุง จำนวน 5 ซอง
- บ้านที่อยู่ในรัศมี ๑๐๐ เมตร จากบ้านผู้ป่วยและจุดที่สงสัยเป็นแหล่งโรค สนับสนุนสเปรย์กำจัดยุง จำนวน 1 กระป๋อง /โลชั่นทากันยุง จำนวน 5 ซอง
- สามารถใช้สเปรย์กำจัดยุง วันละ 2 เวลา คือ 8.00 น.และ 18.00 น.เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกของผู้อยู่ร่วมบ้านผู้ป่วยและครัวเรือนในรัศมี 100 เมตร
- ประสานไปยังเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร เพื่อลงพื้นที่พ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในบ้านผู้ป่วยและบ้านที่อยู่ในรัศมี ๑๐๐ เมตร จากบ้านผู้ป่วยและจุดที่สงสัยเป็นแหล่งโรค
กิจกรรมที่ 4 อสม ติดตามและประเมินผลความชุกของลูกน้ำ เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน โดยสรุปจากการรายงานลูกน้ำยุงลายผ่านแอปสมาร์ท อสม.เพื่อนำมาวิเคราะห์ในแต่ละหลังคาเรือน และในแต่ละหมู่บ้านในแต่ละสัปดาห์ ( 4 สัปดาห์) เป็นเวลา 3 เดือน
2.3 ระยะสรุปผลการดำเนินโครงการ
2.3.1 สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลงอันส่งผลให้ไม่มีผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก และผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 10:27 น.