โครงการร้านขายของชำปลอดยาอันตราย ในชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการร้านขายของชำปลอดยาอันตราย ในชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1523-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 19,185.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาในชุมชนเป็นปัญหาที่มีในประเทศไทยมาหลายปี ซึ่งเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย ได้แก่ ผู้ใช้ยา ผู้สั่งใช้ยา ผู้ผลิต การกระจายยา และการควบคุมกำกับตามกฎหมายยา ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นปัจจัยสำคัญของการมีพฤติกรรมต่อการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม สาเหตุหลักที่ประชาชนใช้ยาไม่สมเหตุผล เนื่องจากสามารถหาซื้อยาที่ไม่เหมาะสมเองได้ง่าย จากร้านขายของชำภายในชุมชน ผ่านช่องทางออนไลน์ สื่อโฆษณาทางวิทยุ โทรทัศน์ และการแนะนำ บอกต่อ จากคนใกล้ตัว ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ยาชุด ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณว่ารักษาโรคให้หายขาดได้ จึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยและระบบสาธารณสุขมายาวนาน จากการทบทวนงานวิจัยในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องพบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากผู้ใช้ยาขาดความรู้ที่ถูกต้อง มีความเชื่อที่ผิดๆ และที่สำคัญมีแหล่งจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมและผิดกฎหมายกระจายอยู่ทั่วไป ส่งผลให้เกิดการใช้ยาและการกระจายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่เหมาะสม ในขณะเดียวกันผู้จำหน่ายที่ขายยาให้กับประชาชน โดยไม่มีความรู้หรือผ่านการศึกษาอบรมด้านยามาก่อน ย่อมไม่ทราบถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพหรือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ผลการสำรวจร้านค้าปลีกในระดับตำบลภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2560 จำนวน 4,128 ร้าน (23 จังหวัด) และปี 2561 จำนวน 887 ร้าน (28 จังหวัด) พบว่าร้านค้าปลีกจำนวนมากขาย "ยาอันตราย" เช่น ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งสเตียรอยด์ที่เป็น "ยาควบคุมพิเศษ" ทั้งที่ตามกฎหมายยาแล้ว "ยาอันตราย" และ "ยาควบคุมพิเศษ" ต้องจำหน่ายในร้านขายยาที่มีเภสัชกรประจำเท่านั้น ในร้านค้าปลีกเหล่านี้พบผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ เช่น ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพร ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาน้ำ ยาต้ม ยาหม้อ ยากษัยเส้น ยาประดง สอดคล้องกับผลการสำรวจยาในครัวเรือนที่ดำเนินการโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ในปี 25๖0-256๒ พบว่าการใช้ยาในครัวเรือน ๖2 จังหวัด จำนวน 22,๘30 ครัวเรือนพบยาปฏิชีวนะเหลือใช้ในครัวเรือน ประมาณร้อยละ 10 โดยสองอันดับแรกที่พบมากที่สุด คือ amoxicillin และ tetracycline แหล่งที่ได้รับยาปฏิชีวนะสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สถานพยาบาลภาครัฐ (โรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) โดยได้สำรวจข้อมูลในพื้นที่ตาม โครงการ “ยามตู้ยา” ประจำปี ๒๕๖๓ ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง พบว่า ในร้านขายของชำจำนวน ๒๒ ร้าน มีจำนวน ๑๐ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๔๕ ที่มีการจำหน่ายยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ (ยาเดี่ยวและยาชุด) ยาแก้ปวด NSAIDs และยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ ให้แก่คนในชุมชน โดยกลุ่มยาที่พบการจำหน่ายสูงสุด คือ ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ คิดเป็นร้อยละ ๘6.๓๖ ยาปฏิชีวนะ คิดเป็นร้อยละ 4๕.๔๕ ยาแก้ปวด NSAIDs คิดเป็นร้อยละ 2๒.๗๓ ยาสเตียรอยด์ (ยาเดี่ยวและยาชุด) คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖๔ ตามลำดับ และจากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับพิษภัยของยา ปรากฏว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และพบยาหมดอายุ จำนวน ๓ รายการ
จากสถานการณ์การสำรวจข้อมูลร้านขายของชำในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน มีจำนวน 21 ร้าน ดังนี้ ม.1 บ้านห้วยไทร จำนวน 6 ร้าน ม.2 บ้านเขาแก้ว จำนวน 10 ร้าน และ ม.7 บ้านเขาเพดาน จำนวน 5 ร้าน ซึ่งยังไม่เคยผ่านการประเมินร้านขายของชำคุณภาพ ประเภทการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (G-RDU) มาก่อนนั้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินการเชิงรุก ในชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการร้านขายของชำในการเลือกจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงประชาชนให้มีทักษะในการคุ้มครองตนเองและครอบครัวในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนและมีร้านขายของชำต้นแบบปลอดยาอันตรายในชุมชน เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำ “โครงการร้านขายของชำปลอดยาอันตราย ในชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568” ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักในการเลือกซื้อและจำหน่ายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้แก่ ผู้ประกอบการร้านขายของชำในชุมชน ภาคีเครือข่าย ,และ ประชาชน 2.เพื่อส่งเสริมให้ร้านขายของชำในพื้นที่ ไม่มีการจำหน่ายยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ และยาชุด 3.เพื่อพัฒนาให้เกิดภาคีเครือข่ายในชุมชนและมีร้านขายของชำต้นแบบปลอดยาอันตรายในชุมชน 1.ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านขายของชำ ภาคีเครือข่ายและประชาชน ให้มีความรู้ความตระหนักในการจำหน่ายและเลือกซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ และยาชุด 2.ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำในพื้นที่เป้าหมายไม่มีการจำหน่ายยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ และยาชุด 3.ร้อยละ 100 เกิดภาคีเครือข่ายในชุมชนและร้านขายของชำต้นแบบปลอดยาอันตรายในชุมชน |
1.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
3.๑ ระยะเตรียมการ
3.3.1 เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม.สำรวจข้อมูลร้านขายของชำในพื้นที่รับผิดชอบ และจัดทำทะเบียนร้านขายของชำเพื่อเป็นฐานข้อมูล
3.3.2 เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม จัดแบ่งทีมในการดำเนินงานตามกิจกรรม โดยแบ่งเป็น 2 ทีม คือทีมเข้าร่วมภาคีเครือข่ายในชุมชน และทีมสุ่มสำรวจความรอบรู้ของประชาชนในการใช้ยา
3.2 ระยะดำเนินการ แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม หลัก ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในชุมชนร่วมกับผู้ประกอบการร้านขายของชำและประชาชนในพื้นที่ จำนวน 68 คน โดยให้ความรู้เรื่องประเด็น ร้านขายของชำปลอดยาอันตราย และการสร้างร้านขายของชำต้นแบบในชุมชน ความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของผู้ประกอบการร้านขายของชำ และการใช้ยาสมเหตุสมผล พร้อมทั้งแนวทางการตรวจประเมินร้านขายของชำแก่ทีมภาคีเครือข่าย
กิจกรรมที่ 2 ทีมภาคเครือข่ายในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ลงพื้นที่ตรวจร้านขายของชำ เพื่อเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำ ทั้ง 21 ร้าน โดยประเมินตามแบบบันทึกการตรวจร้านขายของชำคุณภาพ ประเภทการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (G-RDU) และประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อโปสเตอร์ยาสามัญประจำบ้าน ร้านค้า/ร้านขายของชำ สามารถจำหน่ายได้” และ “ยาอันตราย ห้ามจำหน่ายในร้านขายของชำ”เพื่อใช้รณรงค์ในชุมชน
กิจกรรมที่ 3 สํารวจความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลของประชาชนในพื้นที่ จำนวน 105 ราย หมู่บ้านละ 35 ราย โดยตอบคำถามผ่านแบบฟอร์มออนไลน์เพื่อนำมาวิเคราห์การเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านยาและผลิตภันฑ์สุขภาพ ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป อาธิ อายุ การศึกษา โรคประจำตัว
ส่วนที่ 2 ความรอบรู้ทางด้านการใช้ยา ประกอบด้วย 6 มิติ
1. มิติความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลด้านยาและสุขภาพ
2. มิติความสามารถในการเข้าใจข้อมูลด้านยาต่อการใช้อย่างสมเหตุผล
3. มิติความสามารถในการโต้ตอบ ซักถามหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
4. มิติการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและการดูแลสุขภาพ
5. มิติการจัดการตนเองด้านการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อโฆษณา
6. มิติการสื่อสารบอกต่อ และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ข้อมูล
3.3 ระยะสรุปผลการดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 1 กิจกรรม หลัก ดังนี้
3.3.1 กิจกรรมที่ 4 ทีมภาคเครือข่ายในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ประชุมสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนร้านที่ผ่านเกณฑ์และร้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์และคิดวิเคราะห์แนวทางในการเฝ้าระวังให้เกิดร้านขายของชำต้นแบบในชุมชนอย่างยั่งยืนและมีร้านขายของชำปลอดยาอันตรายในชุมชน 100 เปอร์เซ็นต์
3.3.2 สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการไปยังกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
1.ภาคีเครือข่ายชุมชนและผู้ประกอบการร้านขายของชำ และแกนนำประชาชน มีความรู้ความตระหนักในการจำหน่ายและเลือกซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถให้ความรู้หรือบอกต่อแก่คนในชุมชนได้ เพื่อลดปัญหาการใช้ยาปฎิชีวนะ ยาชุด และยาสเตียรอยด์ โดยไม่จำป็น 2.ร้านขายของชำในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายไม่มีการจำหน่ายยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ และยาชุด 3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์การประเมินระดับดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 10:43 น.