กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดพุง ลดเสี่ยง ลดโรค ประจำปี 2568 (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 68-L7884-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนมัสยิดกลาง
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,955.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภูดิศ สมัยอุดม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การศึกษาของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย พบว่าผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 5 กิจกรรม ได้แก่ 1. ออกกำลังกาย 2. รับประทานผักสดและผลไม้ 3. ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้วหรือมากกว่า 4. ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มเอลกอฮอล์ และ 5. สูบบุหรี่ มีเพียงร้อยละ 18.7 เท่านั้น ทั้งนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นพฤติกรรมที่พบต่ำที่สุด ผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 31.7 โรคเบาหวานร้อยละ 13.3 โรคหัวใจร้อยละ 7.0 โรคหลอดเลือดในสมองตีบร้อยละ 1.6 อัมพาต/อัมพฤกษ์ ร้อยละ 2.5 และโรคมะเร็งร้อยละ 0.5 ผู้สูงอายุที่มีภาวะทุพพลภาพ (มีข้อจำกัดในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง) ประมาณร้อยละ 15 ของผู้สุงอายุ การออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้นในชีวิตประจำวันอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์หรือวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดเสี่ยงต่อการเกิดและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นยังทำให้กล้ามเนื้อขาแขนแข็งแรง ทำให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น และลดการหกล้ม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เป็นกรอบและแนวทางการกำหนดนโยบายยุทศาสต์และการดำเนินงานด้านสุบภาพของประเทศ สุขภาพตามนัยยะของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล สุขภาพจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ในทุกๆวัน ส่งผลอย่างสำคัญต่อคุณภาพของประชาชนในชาติ สุขภาพจึงเป็นความมั่นคงของชาติ เป้าหมายระบบสุขภาพชุมชนมีกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุจำนวนมากที่ประสบปัญหาความเครียด อันเนื่องมาจากภาวะเศรษกิจในปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกำลังกายที่ลดน้อยลง การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  จากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพประชาชนที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ในชุมชนมัสยิดกลางปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 โดยใช้แบบคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มภาวะโรคเมตาบอลิก (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน) จำนวน 158 คน พบว่า ประชาชนในชุมชนมัสยิดกลางไม่ค่อยออกกำลังกาย จำนวน 57 คน ชอบรับประทานอาหารที่มีรสมัน เค็ม และหวาน จำนวน 71 คน มีค่าดัชนีมวยกายมากกว่า 23 (เกินเกณฑ์ ) จำนวน 106 คน และมีรอบเอวเกินจำนวน 82 คน มีความดันโลหิตสูงเกินเกณ์ จำนวน 53 คน มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ จำนวน 17 คน จากข้อมูลดังกล่าว ถือเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดดรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันดลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น คณะกรรมการชุมชนมัสยิดกลางปัตตานีตระหนักถึงนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพ และเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการลดพุง ลดเสี่ยง ลดโรค ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อสงเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนมัสยิดกลางปัตตานี ทำให้มีกิจกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมมีส่วนร่วมในกิจกีีมสร้างสุขภาพของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม 2. เพื่อให้เกิดบุคคลต้นแบบด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักตัวลดลง/รอบเอวลดลง ร้อยละ 20 (6 คน)
  2. มีผู้เข้าร่วมโครงการที่น้ำหนักตัวลดลง รอบเอวลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดละระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 10 (3 คน)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการชุมชนมัสยิดกลาง เพื่อกำหนดกิจกรรมและมีความเห็นร่วมกัน สมควรเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองปัตตานี
  2. เสนอโครงการเพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติ
  3. จัดกิจกรรมโครงการตามแผนที่กำหนดไว้ 3.1 คัดกริงสุขภาพเบื้อต้น ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดมวลไขมันในช่องท้อง วัดรอบเอว ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต และให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3.2 อบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เน้น 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) 3.3 จัดตารางกิจกรรมออกกลังกาย สัปดาห์ละ 3 วัน 3.4 ติดตามการรรับประทานอาหาร 3.5 ติดตามประเมินภาวะสุขภาพซ้ำและให้ความรู้เรื่องการรรับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม การจัดการอารมณืและความเครียด และความรอบรู้สุขภาพ จำนวน 4 ครั้ง
    3.6 ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ
  4. จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรค NCD มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อและดูแลรักษาที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 10:49 น.