โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568 ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”
ชื่อโครงการ | โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568 ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” |
รหัสโครงการ | 68-L1523-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริทสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 17,280.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริทสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปี 2564 ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”หรือที่เรียกว่า Completeaged society ซึ่งจะมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 14 % ของประชากรทั้งประเทศ เนื่องจากจำนวนประชากรการเกิดลดลง และเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้สังคมผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีความเจ็บป่วยด้วยโรคและมีปัญหาสุขภาพ มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เพียงร้อยละ 46 ความเสื่อมของวัยผู้สูงอายุ จะทำให้มีภาวะเปราะบางซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่ หกล้ม หลงลืม ซึมเศร้า ประสิทธิภาพบดเคี้ยวลดลง ไม่สามารถเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและต้องพึ่งพาบุคคลอื่น การที่ผู้สูงอายุจะช่วยเหลือตนเองให้ได้มากและนานที่สุดบนความเสื่อมตามธรรมชาติ ของวัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นจะต้องได้รับการส่งเสริม ให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับสุขภาพที่เพียงพอและหันมาดูแลตนเองให้มีสุขภาพร่างกาย สุขภาพใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อไม่เป็นภาระลูกหลานและสังคม
ในเขตรับผิดขอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน มีผู้สูงอายุในปี 2568ทั้งหมด 373 คน แยกประเภทตามสภาวะพึ่งพิงทางสุขภาพได้ ดังนี้ ผู้สูงอายุติดสังคม 205 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน 150 คน ผู้สูงอายุติดเตียง 18 คน ผู้สูงอายุมีภาวะความเสี่ยงสมองเสื่อม 15 คน ทั้งนี้การดูแล/ส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องชัดเจนเป็นรูปธรรมนั้นสำคัญคือ ผู้สูงอายุต้องไม่มีการหกล้มจากการลื่น การเคลื่อนไหวที่ดีถูกวิธี มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ซึมเศร้า นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และจากการดำเนินงานปี 2567 Care Giver ได้ดำเนินการเฝ้าระวังผู้สูงอายุทั้งสิ้น 98 คน พบว่าล้ม จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 12.24 ล้มแล้วไม่เจ็บ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.1 และล้มแล้วเจ็บ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพดังกล่าวที่ควรจะดูแลต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มเติมผู้สูงอายุด้วย จึงได้จัด โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568 ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” ขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุ กลายเป็นกลุ่มพึ่งพิง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | (๑) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองโรค 10 เรื่อง 9 ด้าน (2) เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหา 10 เรื่อง 9 ด้าน ได้รับการช่วยเหลือ และส่งต่อตามแนวทาง (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำผู้สูงอายุ ให้มีความรู้,ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลตนเอง ไม่ให้ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย (๑) ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุได้รับการได้รับการตรวจคัดกรองโรค 10 เรื่อง 9 ด้าน |
1.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568 ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”
2. สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมายและจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุทั้งหมด หมู่ที่1,2 และหมู่ ๗ เพื่อเตรียมพร้อมจำนวนกลุ่มเป้าหมายก่อนดำเนินการจัดทำ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568 ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”
3. จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568 ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” เพื่อเสนอขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
4. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่บุคลากรสาธารณสุข รพ.สต./อสม./ผู้นำเขตพื้นที่รับผิดชอบ
5. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ โดยมีการจัดทำกิจกรรมดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่1 คัดกรองผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ จำนวน 373 คนโดย อสม. พร้อมทั้งบันทึกผลใน
Smart อสม. แยกกลุ่มผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม คือติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง ให้การดูแลผู้สูงอายุตามรายกลุ่ม ดังนี้ 1.ด้านความคิด 2.ด้านการเคลื่อนไหว 3.ด้านการขาดสารอาหาร 4.ด้านการมองเห็น 5.ด้านการได้ยิน 6.ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 7.ด้านการกลั้นปัสสาวะ 8.ด้านการปฏิบัติกิจวัตประจำวัน 9.ด้านช่องปาก และส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อเนื่องในกรณีที่ผู้สูงอายุมีปัญหาแต่ละด้านโดยเจ้าหน้าที่
กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพส่งเสริมสุขภาพแกนนำผู้สูงอายุ ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน – หลังการอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจ
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามฟื้นฟูความรู้ต่อเนื่องแบบเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
ขั้นดำเนินงาน
1. สำรวจ เตรียมเอกสารและเชิญกลุ่มเป้าหมาย
2. จัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปี 2568 ภายใต้ “ไม่ลืม ไม่ล้ม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”
3. สรุปผลการอบรมและประเมินผลการอบรม
4. ประเมินผลลัพธ์โครงการ
5. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงานต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล
นาเมืองเพชร
สูงอายุจะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น ลดภาวะซึมเศร้าและความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมการทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น และสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนจากชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 10:50 น.