โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1523-1-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 12,840.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อุบัติการณ์โรคเบาหวานแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูง และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตลอดถึงอาจสูญเสียอวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ตา เท้า ไต และหัวใจ สำหรับสาเหตุที่ทำโรคเกิดความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนจากหลายสาเหตุ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การรับประทานยาไม่ถูกต้องไม่ต่อเนื่อง ขาดการรักษา การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งการบริโภคผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้นหากผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัว สูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามากขึ้น ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาผู้ป่วยให้มีทักษะและองค์ความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมร่วม เข้าถึงการเข้าถึงรับบริการที่จำเป็นเพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค จากข้อมูลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมาพบว่าโรคเบาหวานทั้งหมดในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชรมีจำนวน 174 รายและได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนจำนวน 101 รายคิดเป็นร้อยละ58.05 ผลการตรวจมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน 14รายคิดเป็นร้อยละ13.86ซึ่งเกิดโรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นจากผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และมีภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ 4.95 ภาวะแทรกซ้อนทางเท้าร้อยละ3.96 และแทรกซ้อนทางไตร้อยละ 4.95 ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้มีภาวะสุขภาพดีขึ้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลนาเมืองเพชรได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานได้มีความรู้ ความเข้าใจดูแลตนเองได้ดีขึ้น และได้รับการตรวจ ค้นหาภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเพื่อลดความรุนของโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | (1) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน (2) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจหาน้ำตาลสะสมในเลือด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (3) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองจอประสาทตาเสื่อม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (4) เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าโดยเจ้าหน้าที่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (๑) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน (2) ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจหาน้ำตาลสะสมในเลือดอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง (3) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจกรองจอประสาทตาเสื่อม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (4) ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
1.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
1. จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุน เพื่อขอสนับสนุนโครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2568
2. วิเคราะห์สถานการณ์ พร้อมสรุปรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย
3. จัดประชุม ชี้แจง จากทุกภาคส่วน แจ้งแนวทางในการดำเนินงาน
4. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่
ขั้นดำเนินการ
ดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้
1. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ประเมิน ทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมและประเมินความพึงพอใจ
2. ตรวจเลือดหาน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด(HbA1c)ในผู้ป่วยเบาหวาน
3. ตรวจตาป้องกันเบาหวานขึ้นตาในผู้ป่วยเบาหวาน
4. การตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานโดยเจ้าหน้าที่
4.ส่งต่อพบแพทย์ ในรายที่ผิดปกติ
4.1ในรายที่มีผลน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือด(HbA1c)สูงกว่า 10
4.2 ผู้ที่ตรวจตาพบผิดปกติ
4.2 ผู้ที่ตรวจเท้าพบผิดปกติ
5. ดำเนินกิจกรรมติดตาม
5.1 ตรวจน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดครั้งที่2 ในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าปกติ
5.2 ติดตามผลการส่งต่อ/การรักษาในรายที่ตา เท้าผิดปกติ
ขั้นสรุปผล 1. ประเมินผลการทำกิจกรรม 2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผลกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล นาเมืองเพชร
- ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2.ผู้ป่วยเบาหวาน มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน
- ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 10:59 น.