โครงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง |
รหัสโครงการ | 68-L1523-1-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 14,220.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตและหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละปีโรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและเพศปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด ในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าและเป็นภาวะวิกฤติของชีวิตแต่ละบุคคล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม อาจทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต รวมทั้งเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้น และภาวะฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ได้แก่กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด(Cardiovascular Disease) ซึ่งกลุ่มโรคดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อพิจารณาเป็นรายโรคพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดทั้งใน เพศชายและเพศหญิง คือโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 28 ในเพศหญิง และร้อยละ 10.6 ในเพศชาย ส่วนผู้รอดชีวิตจากกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดความพิการหลงเหลือตามมามากที่สุด สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือด เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร พบว่าปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค ได้แก่ การที่ผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานการควบคุมความดันโลหิต และควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี จากสถานการณ์ 3 ปีย้อนหลัง พบว่า มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในปีงบประมาณ 2565-2567 จำนวน12,13,และ14 รายและเข้ารักษาทันเวลาตามระบบ Fastract ร้อยละ50,40,42 ตามลำดับและพบว่าเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงร้อยละ50 จากสถานการณ์ดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดโครงการ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อลดความพิการและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | (๑) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ (๒) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการเจาะเลือดและนำผลเลือดไปใช้ร่วมกับปัจจัยด้านอื่นๆเพื่อการประเมินหาความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ (3) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงสูงมากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจได้รับการส่งต่อและพบแพทย์ (4) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูง( risk มากกว่า20% )ได้รับการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ (5) เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้ารักษาทันเวลาตามระบบ Fastractมากขึ้น (๑) ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ (๒) ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการเจาะเลือดและนำผลเลือดไปใช้ร่วมกับปัจจัยด้านอื่นๆเพื่อ การประเมินหาความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ (3) ร้อยละ 100ของกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงมากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ (4) ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูง risk มากกว่า20% ได้รับการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ (5) ร้อยละ40 เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้ารักษาทันเวลาตามระบบ Fastract |
1.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล นาเมืองเพชร
2. วิเคราะห์สถานการณ์ ร่วมกันประชุมวางแผน สรุปรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย
3. จัดประชุมชี้แจงทุกภาคส่วน แจ้งแนวทางการดำเนินงาน
4.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
ขั้นตอนดำเนินงาน
1.ประชาสัมพันธ์โครงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
2. เจาะเลือดตรวจหาไขมันและน้ำตาลในเลือดเพื่อนำผลเลือดใช้ประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ
3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจและการประเมินความเสี่ยง แก่ผู้ป่วยความโรคความดันโลหิตสูง
4. ส่งต่อและพบแพทย์ในรายที่มีความเสี่ยงสูงมาก(risk มากกว่า30%)
5. ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง(riskมากกว่า20%)
ขั้นสรุปผล
1. ประเมินผลการทำกิจกรรม
2.สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผลกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล
นาเมืองเพชร
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการดูแลตนเองได้ถูกต้อง ปลอดภัยจากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้อัตราป่วย อัตราความพิการและเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 11:02 น.