กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้ป่วยเบาหวานสุขภาพดีวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L1523-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 13,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวศศิมา โสะสะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพกับอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต หัวใจ และระบบประสาทหลอดเลือด ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานมักมีหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้ เลือดไปเลี้ยงเท้าไม่พอ จนอาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริว เส้นประสาทรับความรู้สึกมีความผิดปกติ ความรู้สึกสัมผัสบริเวณเท้าลดลง ทำให้เกิดอาการชาและการรับรู้ที่เท้าเสียไป เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลที่เท้ามากขึ้น จนต้องตัดเท้าซึ่งนำไปสู่ความพิการ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งควรได้รับความรู้รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน มีการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพในผู้ที่มีอาการชาเท้า ด้วยการนวดและการแช่เท้ากระตุ้นให้โลหิตหมุนเวียน ลดอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนขา ขจัดความเมื่อยล้า จึงสามารถนำมาเป็นแนวทาง เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
สถานการณ์โรคเรื้อรังในพื้นที่หมู่ที่ 3,4,5 และ 6 ตำบลนาเมืองเพชร ปี 2565 – 2567 มีผู้ป่วยหวานจำนวน 137,147 และ 174 คน ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนทางเท้า ในปี 2565 – 2567 จำนวน 4,4 และ 5 คน จากสภาพปัญหาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร มีอัตราการป่วยและมีภาวะแทรกซ้อนทางเท้าที่สูงขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการผู้ป่วยเบาหวานสุขภาพดีวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ประจำปี 2568” โดยมีการอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่ผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลเท้าด้วยตนเอง การแช่เท้าด้วยสมุนไพร ตามแนวทาง  การแพทย์แผนไทย ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของสมุนไพรที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชาชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพเท้าเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจประเมินเบื้องต้นอาการชาเท้า และ ดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียนโลหิต 3. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ ที่มีภาวะผิดปกติจากการตรวจประเมินเบื้องต้น ได้รับการ ดูแล ฟื้นฟู และได้รับการติดตาม อาการชาเท้า 4. หลังได้รับการติดตามครบ 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่มีอาการชาเท้า ได้รับการส่งต่อ

8๐ ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพเท้าเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
(2) ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจประเมินเบื้องต้นอาการชาเท้า และ ดูแลเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและไหลเวียนโลหิต (3) ร้อยละ 10๐ ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ ที่มีภาวะผิดปกติจากการตรวจประเมินเบื้องต้นได้รับการดูแล ฟื้นฟู และได้รับการติดตาม อาการชาเท้า
(4) ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยที่มีอาการชาเท้า หลังการติดตามได้รับการส่งต่อ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเตรียมพร้อมจำนวนกลุ่มเป้าหมายก่อนดำเนินการจัดทำโครงการ 2. จัดทำโครงการผู้ป่วยเบาหวานสุขภาพดีวิถีไทย ด้วยสมุนไพรใกล้ตัว ประจำปี 2568 เพื่อเสนอขอ อนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร 3. ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการแก่บุคลากรสาธารณสุข รพ.สต./อสม./ผู้นำเขตพื้นที่รับผิดชอบ 4. จัดเตรียมรูปแบบการอบรม เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม 5. กำหนดสถานที่จัดอบรม จัดทำเอกสารการอบรม     3.2 ขั้นดำเนินการ     กิจกรรมที่ 1 ทดสอบความรู้ก่อน - หลังการอบรม จากแบบทดสอบประเมิน และแบบประเมินความพึงพอใจจัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่ผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลเท้าด้วยตนเอง การแช่เท้าด้วยสมุนไพร และผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจวัดการรับความรู้สึกที่เท้าเพื่อประเมินอาการชาเท้าเบื้องต้น โดยการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจเท้า Monofilament ผู้ป่วยมีอาการชา 2 จุด ขึ้นไป ถือว่ามีอาการชาเท้า
    กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมฝึกปฏิบัติ การนวดฝ่าเท้าด้วยตนเองและการแช่เท้าด้วยสมุนไพรเพื่อลดอาการเท้าชาแก่ผู้ป่วยเบาหวาน


   




กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเสี่ยงอาการเท้าและปลายเท้าชา สามารถนำรูปแบบการดูแลภาวะแทรกซ้อนของเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยนวดฝ่าเท้าตนเองและการแช่เท้าด้วยสมุนไพรไปปฏิบัติที่บ้านได้ต่อเนื่อง เมื่อครบ 4 สัปดาห์หลังอบรม นัดติดตามอาการชาเท้า ที่คลินิกแพทย์แผนไทย ของ รพ.สต.นาเมืองเพชร

3.3 ขั้นสรุปผล

สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบล นาเมืองเพชร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการดูแลเท้า เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน   2. มีการใช้สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพตนเอง และเพิ่มคุณค่าของสมุนไพรในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 11:05 น.