โครงการส่งเสริมสุขภาพการดูแลรักษาฟันและช่องปาก
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพการดูแลรักษาฟันและช่องปาก |
รหัสโครงการ | 68-L1523-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านห้วยไทร |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 11,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงเรียนบ้านห้วยไทร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน โรคฟันผุและโรคเหงือก อักเสบ เป็นปัญหาสำคัญทางทันตสุขภาพที่พบมากในเด็กนักเรียนประถมศึกษา ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งสุขภาพ ร่างกาย จิตใจ และเกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถป้องกันและแก้ไขไม่ให้ลุกลามได้ โดยการให้ความรู้สร้างทัศนคติเพื่อให้เด็กปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตนเองอย่างถูกวิธี และสามารถป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการ เลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติได้รับสารอาหาร ที่จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมี ผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย โรงเรียนบ้าน ห้วยไทรได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเข้าเพดานเข้ามาตรวจสุขภาพฟันและ ช่องปากให้กับนักเรียน จากสถิติการตรวจสุขภาพฟันของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไทรในปีการศึกษา 2567 ส่วนใหญ่ พบว่ามีอาการฟันผุและสุขภาพช่องปากไม่สะอาด ในระดับปฐมวัย จำนวน ๑๕ คน และระดับ ประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๕๐ ของนักเรียนทั้งหมด อันเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ มีประโยชน์และการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไม่ถูกต้อง โรงเรียนบ้านห้วยไทรได้เล็งเห็นความสำคัญของ สุขอนามัยของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพการดูแลรักษาฟันและช่องปากเพื่อให้นักเรียนได้รับ การตรวจสุขภาพช่องปาก และเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและสามารถแปรง ฟันได้อย่างถูกวิธี การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมและการตรวจสุขภาพช่องปาก การให้สุขศึกษาบริการทันตกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธีการบำบัดรักษาการติดตามประเมินผล ทางโรงเรียน บ้านห้วยไทรได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพการดูแลรักษาฟันและช่องปากขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 2.1.1 เพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2.1.2 เพื่อให้ครู นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพช่องปากและสามารถ แปรงฟันได้อย่างถูกวิธี 2.2.1 ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2.2.2 ร้อยละ 100 ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพช่องปากและสามารถแปรงฟัน ได้อย่างถูกวิธี |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๓.1 ระยะเตรียมการดำเนินโครงการ ๓.๑.1 คณะครูและบุคลากรในโรงเรียนประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่อยู่รอบตัวนักเรียนและ ส่งผลต่อนักเรียนโดยตรง โดยได้รับการนำเสนอเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพการดูแลรักษาฟันและช่องปาก ๓.๑.๒ คณะครู และบุคลากรในโรงเรียนร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน และให้ครูผู้รับผิดชอบ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ ๓.๒ ระยะดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง การดูแลรักษาฟันและช่องปาก - จัดหาอุปกรณ์และเตรียมสื่อในการอบรม รวมทั้งติดต่อวิทยากรที่มีความรู้มาดำเนินการให้ความรู้ ที่ถูกต้อง - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพการดูแลรักษาฟันและช่องปาก ให้กับนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งคณะครูในโรงเรียน - จัดทำสื่อวิดีโอประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพการดูแลรักษาฟันและช่องปาก ให้คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 - ๓ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 กิจกรรมที่ 2 เด็กน้อย ฟันสวย - โดยนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1 – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำกิจกรรมแปรงฟันทุกวันตอนเที่ยง หลังรับประทานอาหารเรียบร้อยแล้ว โดยจัดหาอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันและช่องปากให้กับ นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่สะอาด - นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจากทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลสิเกา กิจกรรมที่ ๓ การติดตามดูแลรักษาสุขภาพฟันและช่องปาก - จัดเตรียมคู่มือตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก สำหรับนักเรียน - ครูตรวจสุขภาพฟันและช่องปากของนักเรียนเบื้องต้นทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 3 เดือน
7.1 ครูและนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟันและช่องปาก 7.2 สามารถส่งเสริมกิจกรรมการดูแลรักษาฟันและช่องปาก ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ 7.๓ สามารถเผยแพร่คำแนะนำ การดูแลสุขภาพ เรื่องการดูแลรักษาฟันและช่องปากแก่ครูและ นักเรียนได้ 7.๔ สามารถส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับฟันและช่องปาก โดยเฉพาะการแปรง ฟันและการรับประทานอาหาร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 11:15 น.