โครงการสาวห้วยน้ำดำใส่ใจต้านภัยมะเร็งเต้านม ในปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสาวห้วยน้ำดำใส่ใจต้านภัยมะเร็งเต้านม ในปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1523-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 10,870.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จากรายงานของกองสถิติสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๓ ของประเทศ รองลงมาจากอุบัติเหตุ โรคหัวใจและหลอดเลือด และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นโดยตำแหน่งที่พบเป็นมะเร็งมากที่สุดในสตรีไทย คือ มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกของสตรีไทย และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากซึ่งมะเร็งเต้านมถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากการค้นหาโรค มะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ ตั้งแต่ในขั้นที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ซึ่งการรักษาในระยะนี้จะประสบผลสำเร็จดีกว่าการรักษาโรคมะเร็งระยะลุกลาม เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาทั้งยังสามารถลดจำนวนการเสียชีวิตและการเจ็บป่วย ของประชากรได้อย่างมาก และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านม
จากสถานการณ์ ปี ๒๕67 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร หมู่ที่ 3 บ้านห้วยน้ำดำ ตำบลนาเมืองเพชร มีสตรีที่มีอายุ 35-70 ปี มีจำนวน 102 คน โดยมีผู้ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 96 ราย พบมีก้อนผิดปกติ จำนวน 2 ราย ได้รับการส่งต่อเพื่อไปรักษา และได้การรับวินิจฉัยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 1 ราย อาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบหมู่ 3 บ้านห้วยน้ำดำ ตำบลนาเมืองเพชร จึงได้จัดทำโครงการสาวห้วยน้ำดำใส่ใจต้านภัยมะเร็งเต้านม ในปีงบประมาณ ๒๕๖8 ขึ้น เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | (๑) เพื่อให้แกนนำชุมชนมีความรู้ มีความเข้าใจในตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง (๒) เพื่อให้สตรี อายุ 35 – 70 ปี มีความรู้และทักษะ ในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง (3) เพื่อให้สตรี อายุ 35 – 70 ปี ที่ตรวจเต้านมของตนเองแล้วพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (๑) ร้อยละ 95 ของแกนนำชุมชนมีความรู้ มีความเข้าใจในตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง (๒) ร้อยละ 80 ของให้สตรี อายุ 35 – 70 ปี มีความรู้ ในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง (3) ร้อยละ 100 ของให้สตรี อายุ 35 – 70 ปี ที่ตรวจเต้านมของตนเองแล้วพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข |
1.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
3.1 ขั้นเตรียมการ
๑. สำรวจจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓5 - ๗๐ ปี เพื่อเตรียมความพร้อม จำนวนกลุ่มเป้าหมายเพื่อดำเนินการจัดทำโครงการ
๒. ชี้แจงโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำเครือข่ายสุขภาพ
3. จัดเตรียมรูปแบบการอบรม เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
4. กำหนดสถานที่จัดอบรม จัดทำเอกสารการอบรม
3.2 ขั้นดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยให้แกนนำสุขภาพ เข้าร่วมการอบรมจำนวน 20 คน เพื่อให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมรวมถึงการฝึกการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เพื่อนำความรู้และทักษะไปใช้ในการให้คำแนะนำและการดูแลสตรี อายุ 35-70 ปี ในการฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเอง
กิจกรรมที่ 2
- ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
- จัดอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเป้าหมายของสตรีอายุ 35 - 70 ปี โดยวิทยากรเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและสอนเทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยใช้โมเดลเต้านมเสมือนจริงช่วยในการสอนสาธิต เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
- ทำแบบทดสอบหลังการอบรม
กิจกรรมที่ 3 แกนนำสุขภาพติดตามประเมินผลการบันทึกการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมาย
กิจกรรมที่ 4 ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ตรวจพบความผิดปกติและส่งต่อข้อมูล พร้อมกับประสานงาน การส่งต่อเพื่อพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
3.3 ขั้นสรุปผล
สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
1.สตรีวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มอายุ 35-70 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
2. สตรีวัยเจริญพันธุ์ กลุ่มอายุ 35-70 ปี ที่ได้รับการคัดกรอง ได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 11:25 น.