โครงการคนกลิ้งกลองร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการคนกลิ้งกลองร่วมใจต้านภัยไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68-L1523-2-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 |
วันที่อนุมัติ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 15,195.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยมียุงลายเป็นพาหะเนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ซึ่งในปัจจุบันพบผู้ป่วยไข้เลือดทั้งในผู้ใหญ่และวัยเด็กรวมทั้งมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม - 12 มิถุนายน 2567 ประเทศไทยพบรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 32,140 ราย มากกว่าปี 2566 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ถึง 1.3 เท่า (24,625 ราย) เสียชีวิต จำนวน 5 ราย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก หมู่ 6 บ้านกลิ้งกลอง พบว่าในปี ๒๕67 มีผู้ป่วย จำนวน 4 ราย และพบว่าในปี 67 จำนวนครัวเรือนที่พบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพิ่มมากกว่าร้อยละ 10 ค่า(HI>10)และค่าดัชนีลูกน้ำที่พบในภาชนะ(CI)มีค่าเท่ากับ 0.02 การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จ และเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน โดยกระตุ้นให้ ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องตามมาตรการ วิธี ๕ ป ๑ ข ( ปิด เปลี่ยน ปล่อย ปรับปรุง ปฏิบัติ และขัดล้างไข่ยุงในภาชนะ )ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ กำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ทาง อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านกลิ้งกลอง ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น เพื่อเตรียมรับสถานการณ์แพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนในประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในชุมชน,โรงเรียน,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม (2) เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ ลูกน้ำยุงลายภายในชุมชน ป้องกันและควบคุมปัญหาโรคไข้เลือดออก (๑) ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม (๒) ร้อยละ 100 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนต่ำกว่า ๑๐, ค่าดัชนีที่แสดงถึงร้อยละของ จำนวนภาชนะที่พบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในโรงเรียน = 0 |
1.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
3.1ขั้นเตรียมการ
1. สำรวจจำนวนกลุ่มเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อม จำนวนกลุ่มเป้าหมายเพื่อ ดำเนินการจัดทำโครงการ
2. ชี้แจงโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำเครือข่ายสุขภาพ
3. จัดเตรียมรูปแบบการอบรม เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
4. กำหนดสถานที่จัดอบรม จัดทำเอกสารการอบรม
3.2 ขั้นดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1
- ทำแบบทดสอบก่อบการอบรม
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ อสม./แกนนำเครือข่ายสุขภาพ จำนวน 40 คน เพื่อให้ ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่อาสาสมัครสาธารณสุข/แกนนำเครือข่ายสุขภาพ ค้นหาวิเคราะห์ และประเมิน แนวโน้มปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อหาแนวทางการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา อสม.และแกนนำเครือข่ายสุขภาพได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและนำไปแนะนำประชาชนในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี
- ทำแบบทดสอบหลังการอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจ
กิจกรรมที่ 2. จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนรวมพลังกำจัดลูกน้ำยุงลายตามวิธี ๕ ป ๑ ข แจกเอกสารแผ่นพับในเขตพื้นที่ชุมชน โรงเรียนบ้านกลิ้งกลอง/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกลิ้งกลอง โดยมีประชาชนหมู่ที่ 6 บ้านกลิ้งกลองร่วมกับ อสมและแกนนำสุขภาพจำนวน 140 คน ร่วมกันเดินรณรงค์ กิจกรรมที่ 3. กิจกรรมควบคุมการแพร่กระจายโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านกรณีการเกิดโรคระบาดภายในหมู่บ้านโดยการลงไปควบคุมโรคโดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.โดยการทำตามมาตรการ 3:3:1 และแจ้งทางเทศบาลตำบลนาเมืองเพชรเพื่อลงพ้นหมอกควัน (อ้างอิงจากอัตราการเกิดโรคระบาดในปี 2567 ในรัศมีการเกิด100 เมตร)
กิจกรรมที่ 4. อสม.ติดตามและประเมินความชุกของลูกน้ำยุงลายโดยการไขว้เขตละแวกรับผิดชอบ ของ อสม.เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมในการ กำจัดลูกน้ำและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
3.3 ขั้นสรุปผล
สรุปผลการดำเนินงานโครงการและรายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
๑. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงและสามารถควบคุมโรคได้ในเวลารวดเร็ว ๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ๓. ประชาชน มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน ทุกสัปดาห์ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 11:37 น.