กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวตำบลบ่อหินร่วมใจ "เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย" ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 68 - L8429 - 01 - 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฐญาภรณ์ บรรดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2568 30 มิ.ย. 2568 12,400.00
รวมงบประมาณ 12,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต    และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล มีการพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี แม้ว่าหลายภาคส่วนได้ร่วมมือรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมาโดยตลอดแล้วก็ตาม อำเภอสิเกาเป็นพื้นที่ ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง    มีการกระจายของผู้ป่วยทุกตำบล สำหรับตำบลบ่อหิน พบอัตราป่วยในปี2566- 2568 เท่ากับ 65.05 ,23.42 และ25.02 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25-34 ปี และเมื่อจำแนกตามการประกอบอาชีพผู้ป่วย พบว่าเป็นนักเรียนจำนวน 8 ,38 และ 16 รายตามลำดับ เป็นเกษตรกรจำนวน 6 ,19 และ2 ราย ตามลำดับ และรับจ้างจำนวน 5 ,9 และ2 รายตามลำดับ และพบจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี จำนวน 5,14 และ21 ราย และมิถุนายนของทุกปี จำนวน 6 ,11 และ16รายตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามหลักการระบาดของไข้เลือดออก ที่พบผู้ป่วยช่วงเดือนเมษายน – ตุลาคมของทุกปี และจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชน เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกา พบว่ามีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน(HI) = 11 และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขัง (CI) = 1.3 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด คือ ค่า HI ≤10 และ ค่า CI=0

    การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน มีการร่วมวางแผน และดำเนินกิจกรรม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น การจัดการด้านสุขาภิบาลของบ้านเรือน ตามหลัก 3 เก็บ ( เก็บน้ำ เก็บบ้าน และเก็บขยะ) หมั่นสำรวจลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังและบริเวณบ้าน ตลอดทั้งร่วมกำหนดมาตรการทางสังคม เพื่อให้ครัวเรือนมีความรับผิดชอบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จากความสำคัญดังกล่าว      กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา จึงจัดทำโครงการชาวตำบลบ่อหินร่วมใจ “เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย” ป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทุกครัวเรือนในชุมชน ร่วมกันดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณที่พักอาศัย

ร้อยละ90 ของครัวเรือนในชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณที่พักอาศัย

2 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย ที่มีผลต่อการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกชุมชนผ่านเกณฑ์ (HI≤10 ,CI=0)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 12,400.00 5 12,400.00 0.00
16 พ.ค. 68 กิจกรรมสร้างเสริมความรู้โรคไข้เลือดออก และมาตรการต่างๆที่ใช้ในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก 80 3,250.00 3,250.00 0.00
16 พ.ค. 68 กิจกรรมเดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แจกทราบอะเบท และเวชภัณฑ์ป้องกันยุงในชุมชน 0 9,150.00 9,150.00 0.00
23 พ.ค. 68 กิจกรรมสร้างเสริมความรู้โรคไข้เลือดออก และมาตรการต่างๆที่ใช้ในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 0.00 0.00 0.00
23 พ.ค. 68 กิจกรรมเดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แจกทราบอะเบท และเวชภัณฑ์ป้องกันยุงในชุมชน 0 0.00 0.00 0.00
26 พ.ค. 68 กิจกรรมติดตามค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกเดือน 0 0.00 0.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 80 12,400.00 5 12,400.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชุมชนสามารถดูแลตนเองและสามารถดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 12:36 น.