โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาเซะ |
วันที่อนุมัติ | 19 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 7,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุไลมาน มะแซ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.62,101.253place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 7,500.00 | |||
รวมงบประมาณ | 7,500.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และ การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรงครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่ง จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ เกิดความ ปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ทุกวันนี้ ในโลกยังมีผู้หญิงเสียชีวิต จากปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด และมีอีกนับหมื่นๆ คนที่ประสบภาวะแทรกซ้อน สำหรับประเทศไทย โดยเฉลี่ยผู้หญิงเสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอด วันละ 1-2 คนมีแม่และเด็กจำนวนมากเจ็บป่วยรุนแรงถึงพิการ จากสาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถป้องกันได้อันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดลูกจะลดลงได้ เมื่อผู้หญิงมีสุขภาพแข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อม
สถานการณ์งานแม่และเด็กปี 2567 พบว่าอัตราส่วนการตายมารดาเท่ากับ 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน สาเหตุการตายหลัก ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอด และความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 21.62 หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเสริมไอโอดีนร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 22.86 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 15 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน ร้อยละ 100 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ เท่ากับ 86.54 ร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ เท่ากับร้อยละ 89.83 (HDC,15 ส.ค.2567) จากการดำเนินงานการอนามัยแม่และเด็กยังคงพบว่า ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 5.66 ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ทารกแรกเกิดมีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและอาจจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านพัฒนาการล่าช้าได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาเซะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ปี2568 เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ มีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ รับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง และได้รับการคลอดในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด อสม. มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของมารดาและทารก 2.เพื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ 3.เพื่อหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนคลอด 8 ครั้งตามเกณฑ์ 4. หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล ครบ 3 ครั้ง 5. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 6. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 7. เด็กแรกเกิด ได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ตัวชี้วัดความสำเร็จ -ร้อยละ 90 -ร้อยละ 75 -ร้อยละ 75 -ร้อยละ 75 -ร้อยละ |
- หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด อสม. จะมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกได้ 2. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้น 3.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ 4.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อนคลอด ครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 5. หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล ครบ 3 ครั้ง 6. ทารกแรกเกิดต้องมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัมขึ้นไป 6. ไม่พบภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 7. ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงเด็กแรกเกิด ได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2568 14:32 น.