โครงการ โรงเรียน RDU สร้างภูมิรู้สู่ชุมชน ตำบลตันหยงดาลอ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ โรงเรียน RDU สร้างภูมิรู้สู่ชุมชน ตำบลตันหยงดาลอ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3041-01-005 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 4 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,910.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงดาลอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อสุขภาพอนามัย ได้แก่ ยา , อาหาร , เครื่องสำอาง , วัตถุอันตราย , เครื่องมือแพทย์ และวัตถุยาเสพติด ปัจจุบันช่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ออนไลน์ ซึ่งพบสารพัดปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร โฆษณาเป็นยา รักษาสารพัดโรค , เครื่องสำอาง โฆษณาเป็นยาลดไขมัน เพิ่มขนาดทรวงอก ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาจนได้รับอันตรายจากสารห้ามใช้หรือยาที่ลักลอบใส่และก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมได้ เด็กวัยเรียน school age children คือเด็กช่วงวัยอายุ 6-12 ปี เรียนอยู่ในช่วงชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 ที่อยู่ในยุคแห่งความเร่งรีบอย่างสังคมปัจจุบัน ที่เด็กวัยเรียน และคนรอบตัวเด็กมีสิ่งต่างๆ เช่น หนังสือ สื่อออนไลน์ โทรศัพท์ไร้สาย เกมออนไลน์ ทำให้เด็กเรียนรู้ข้อมูลทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องในเวลาเดียวกัน อันจะนำมาสู่การเชื่อและทดลองใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆที่ไม่ปลอดภัยได้ ดังนั้น การพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องให้แก่เด็กกลุ่มนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กได้เปิดการเรียนรู้ มีภูมิรู้ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง(Rational Drug Use) สามารถบอกต่อแก่คนในครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัยได้ บริบทโรงเรียนยังมีห้องปฐมพยาบาลที่ยังขาดการติดตามมาตรฐานด้านต่างๆ โดยเฉพาะยาที่ใช้เพื่อบรรเทาเมื่อเด็กมีอาการเจ็บป่วย จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการวัยรุ่น วัยใส ใส่ใจ เท่าทัน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (RDU school) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่เด็กนักเรียนในวัยนี้ และดูแลห้องปฐมพยาบาลในโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่นักเรียน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่เด็กนักเรียนในชุมชน เด็กนักเรียนมีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ |
0.00 | |
2 | เพื่อค้นหาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในห้องปฐมพยาบาล ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในห้องปฐมพยาบาลลดลง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 12,910.00 | 0 | 0.00 | |
4 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้แก่แกนนำ อย.น้อย ในโรงเรียน เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพยาและเครื่องสำอาง จำนวน60 คน | 0 | 9,750.00 | - | ||
4 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอางและยา ด้วยชุดทดสอบ | 0 | 3,160.00 | - | ||
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | พัฒนาห้องปฐมพยาบาลในโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน | 0 | 0.00 | - |
- เด็กสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
- ห้องปฐมพยาบาลในโรงเรียนได้ตามมาตรฐาน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2568 09:28 น.