กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชนบ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568 ”
ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง



หัวหน้าโครงการ
นางพุฒชาติ ดวงดาว




ชื่อโครงการ โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชนบ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568

ที่อยู่ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 68 - L8429 - 02 - 14 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชนบ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชนบ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชนบ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 68 - L8429 - 02 - 14 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 8,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ่อหิน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีนโยบายให้ทุกจังหวัดจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) พร้อมกับเชื่อมโยงการทำงาน อสม. เพื่อให้การดูแลประชาชนกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ให้ชุมชนที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด มาช่วยให้ความรู้ แนะนำและติดอาการอาการจึงเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและรู้เรื่องสุขภาพของผู้คนในชุมชนมากที่สุด นั่นคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน      โดยสถานีสุขภาพชุมชน เป็นรูปแบบของกิจกรรมที่ผสานความร่วมมือจากหลายหน่วยภาคส่วน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล , อบต.และ ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ที่ให้ความร่วมมือในด้านต่างๆ มาสนับสนุนให้บริการดูแลสุขภาพในชุมชน และไม่จำกัดว่าต้องเป็นสถานที่ไหน เช่น ศาลากลางหมู่บ้าน ทำที่ทำการชุมชน หรือบ้านของ อสม.ก็สามารถทำได้ รวมถึงไม่จำเป็นด้วยว่าต้องอยู่ให้บริการดูแลสุขภาพเพียงแค่ในสถานีฯแต่สามารถเดินทางไปบ้านของผู้ป่วยได้ด้วยหากผู้ป่วยไม่สะดวกในการเดินทาง หลังจากมีข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต จะมีการติดตามตามประเภทของผู้ป่วยเบาหวาน โดยแบ่งเป็น 3 สี ได้แก่ สีเขียว คือกลุ่มเสี่ยงความดัน เบาหวาน สำหรับผู้ที่มีค่าน้ำตาลต่ำกว่า 100 มก.ดล. ระดับความดัน ค่าตัวบน ระหว่าง 120 - 129 มม.ปรอท และค่าตัวล่าง ระหว่าง 80 - 84 มม.ปรอท สีเหลือง คือกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่มีค่าน้ำตาลในเลือดระหว่าง 100 - 125 มก.ดล. และระดับความดัน ค่าตัวบน ระหว่าง 130 - 139 มม.ปรอท และค่าตัวล่าง ระหว่าง 85 - 89 มม.ปรอทและสีแดงคือผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 มก.ดล.ขึ้นไป และระดับความดัน ค่าตัวบน ระหว่าง 140 - 159 มม.ปรอท และค่าตัวล่าง ระหว่าง 90 - 99 มม.ปรอท โดยเมื่อตรวจและคัดแยกประเภทระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันเสร็จแล้ว ทั้งผู้ป่วย และ อสม. ก็จะรู้ข้อมูลดังกล่าวร่วมกัน และถ้าพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่มีค่าน้ำตาลเกินกว่าที่กำหนด ทาง อสม. จะเข้าไปแนะนำให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและประสานปรึกษากับนักสุขภาพครอบครัว (นสค) หมอคนที่ 2 ประจำครัวเรือนเพื่อส่งต่อมายัง รพ.ต่อไป     จากผลการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ปี 2568 จำนวน 128 คน พบว่า โรคเบาหวาน แบ่งเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 80.47 ,กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 16.41 และกลุ่มป่วย ร้อยละ 3.12 และโรคความดันโลหิตสูง แบ่งเป็นกลุ่มปกติ ร้อยละ 30.47 ,กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 61.72 และกลุ่มป่วย ร้อยละ 7.81 คณะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านหัวหิน เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน บ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อจัดตั้งจุดบริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองในชุมชน ให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้นและให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อจัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station)
  2. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมจัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station)
  2. กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงการตรวจวัดสัญญาณชีพ, ตรวจวัดค่าบ่งชี้สุขภาพเบื้องต้น, ประเมินสถานะสุขภาพของตนเอง และส่งต่อข้อมูลผ่านอุปกรณ์ดิจิทัล เพื่อการดูแลและติดตามสุขภาพของตนเองร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมจัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station)

วันที่ 9 มิถุนายน 2568 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เขียนโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน บ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568 และขออนุมัติโครงการ
  2. จัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station)
  3. บริการตรวจ สุขภาพเบื้องต้นในชุมชน     - ชั่งน้ำหนัก  - วัดส่วนสูง  - วัดรอบเอว     - คำนวณค่าดัชนีมวลกาย  - วัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด  - วัดความดันโลหิต
  4. สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงการตรวจวัดสัญญาณชีพ, ตรวจวัดค่าบ่งชี้สุขภาพเบื้องต้น, ประเมินสถานะสุขภาพของตนเอง และส่งต่อข้อมูลผ่านอุปกรณ์ดิจิทัล เพื่อการดูแลและติดตามสุขภาพของตนเองร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์

 

80 0

2. กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น

วันที่ 9 มิถุนายน 2568 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เขียนโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน บ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568 และขออนุมัติโครงการ
  2. จัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station)
  3. บริการตรวจ สุขภาพเบื้องต้นในชุมชน     - ชั่งน้ำหนัก  - วัดส่วนสูง  - วัดรอบเอว     - คำนวณค่าดัชนีมวลกาย  - วัดค่าระดับน้ำตาลในเลือด  - วัดความดันโลหิต
  4. สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชาชนในชุมชนมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถเข้าถึงการตรวจวัดสัญญาณชีพ, ตรวจวัดค่าบ่งชี้สุขภาพเบื้องต้น, ประเมินสถานะสุขภาพของตนเอง และส่งต่อข้อมูลผ่านอุปกรณ์ดิจิทัล เพื่อการดูแลและติดตามสุขภาพของตนเองร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อจัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station)
ตัวชี้วัด : - มีสถานีสุขภาพชุมชน บ้านหัวหิน (Health Station) จำนวน 1 แห่ง

 

2 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่แพทย์ต้องติดตาม สามารถเข้าถึงบริการได้ - ร้อยละ 80 สามารถเข้าถึงจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองใน ชุมชน

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station) (2) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมจัดตั้งและเปิดจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพ ด้วยตนเองในชุมชน (Health station) (2) กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชนบ้านหัวหิน (Health Station) ปีงบประมาณ 2568 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 68 - L8429 - 02 - 14

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางพุฒชาติ ดวงดาว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด