กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรี ร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังกระ
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 -
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 12,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิมรอน ปาละมาณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.253place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2568 31 ส.ค. 2568 12,300.00
รวมงบประมาณ 12,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมานักต่อนัก โดยปัจจัยการเกิดโรคมีทั้งปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรม และปัจจัยภายนอก เช่น อาหารการกิน การพักผ่อน สภาพแวดล้อม และมลภาวะ สิ่งที่น่ากังวลคือ หลายคนไม่รู้จักโรคนี้ดีพอ จึงไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง  โรคมะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลกและในปัจจุบันผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงเป็นอันดับ 1 มากกว่ามะเร็งปากมดลูกโดยพบประมาณ 30 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย โดยสถิติของประเทศไทยพบมะเร็งเต้านม (22.8%) ตามมาด้วยมะเร็งลำไส้ (10.7%) และมะเร็งปากมดลูก (9.4%) มะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่ อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะเสี่ยงมากขึ้น มีประวัติครอบครัวสายตรง ประจำเดือนเริ่มมาตั้งแต่อายุน้อย หมดประจำเดือนช้า การกินยาฮอร์โมนวัยทองหรือใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เคยได้รับการฉายรังสีที่หน้าอก สามารถตรวจเต้านมด้วยตัวเองได้ ด้วยการคลำเต้านมทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงเกิดจาก อายุ ส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มากขึ้น สูบบุหรี่ มีบุตรจำนวนมาก ไม่เคยตรวจภายใน ปัจจุบันการตรวจมะเร็งปากมดลูกใช้แบบ HPV DNA     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี เป้าหมาย 689 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 591 คน คิดเป็นร้อยละ 85.78 และดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลุกในสตรีอายุ 30-60 ปี เป้าหมาย เป้าหมาย 530 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 62 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7 จึงเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดโดยดำเนินการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปีขึ้นไป และคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี จึงได้จัดทำโครงการสตรี ร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ประจำปี 2568โดยการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรก เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ และเพื่อเป็นการการยกระดับการให้บริการตรวจภายใน ในสถานบริการ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจภายในมาให้บริการประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดปัญหาการเขินอายเมื่อต้องตรวจเต้านมและตรวจภายใน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกหลังได้รับการอบรมร้อยละ 80
80.00
2 2. เพื่อค้นหาผุ้ป่วยและวินิจฉัยในระยะเริ่มแรก ในการรักษา เพื่อการรักษาให้มีประสิทธิภาพ
  1. ร้อยละ 80 ผู้ที่ได้รับการอบรมได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและปากมดลูก
80.00
3 3. สตรีที่ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
  1. ร้อยละ 100 ที่ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อพบแพทย์
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA
  4. สตรีที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการคัดกรองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2568 10:46 น.