โครงการเสริมพลังกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 8 บ้านโต๊ะบัน
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมพลังกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 8 บ้านโต๊ะบัน |
รหัสโครงการ | 68 - L8429 - 02 - 18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน หมู่ที่ 8 บ้านโต๊ะบัน |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายก่อหยาด เขาบาท |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.569505428,99.33580733place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 20 พ.ค. 2568 | 18 มิ.ย. 2568 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น ๆ จากสถานการณ์ของคนไทยในปัจจุบัน พบว่า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆปัจจุบันคนไทยมีภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รสหวาน มัน เค็ม เพิ่มขึ้นรับประทานผักและผลไม้น้อยลง และขาดการออกกำลังกาย ภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ ของกรมอนามัยพบว่า เพศชายมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ร้อยละ 34 และเพศหญิงมีรอบเอวกิน 80 เซนติเมตร ร้อยละ 58 ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เนื่องจากคนในชุมชน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง–โรคเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณจากหลักประกันสุขภาพ เพื่อมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน และได้ตั้งศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs ขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงภัยเงียบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดขึ้นจากโรคใด ไม่แพร่เชื้อจากคนสู่คน แต่ก็เกิดจากนิสัยและพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภคอาหาร การไม่ออกกำลังกาย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นภัยเงียบ เมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ก็ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง จนเป็นเรื้อรังของโรคอีกด้วย เพื่อการป้องกันไม่ให้โรคเป็นเรื้อรังเพิ่มขึ้น จึงได้ทำโครงการเสริมพลังกลุ่มเสี่ยงต่อโรค เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน หมู่ที่ 8 บ้านโต๊ะบัน ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นประชากรที่มีคุณภาพของชุมชน สืบไปในวันข้างหน้า
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชากรกลุ่มสงสัยหรือเสี่ยงป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อย่างเข้าใจ
|
||
2 | เพื่อจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 10,000.00 | 2 | 10,000.00 | 0.00 | |
20 พ.ค. 68 | กิจกรรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง | 50 | 3,500.00 | ✔ | 3,500.00 | 0.00 | |
20 พ.ค. 68 - 18 มิ.ย. 68 | กิจกรรมติดตามระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มเสี่ยง และค่าความดันโลหิตสูง | 0 | 6,500.00 | ✔ | 6,500.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 50 | 10,000.00 | 2 | 10,000.00 | 0.00 |
- กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อย่างเข้าใจ
- อสม. และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ในการคัดกรองโรคเรื้อรังเบื้องต้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2568 10:52 น.