โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง พ.ศ.2568
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง พ.ศ.2568 |
รหัสโครงการ | L1494-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนางอ |
วันที่อนุมัติ | 4 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 มีนาคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 13,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางโสพิน ทองศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.652,99.613place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 7 มี.ค. 2568 | 30 ส.ค. 2568 | 13,700.00 | |||
รวมงบประมาณ | 13,700.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) เป็นสาเหตุการตายของทุกประเทศทั่วโลกสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกกลุ่มวัยและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โรคที่พบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง ความเสื่อมทางร่างกายและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ก่อนเข้าวัยสูงอายุ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดได้หากมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม ด้วยการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพในการจัดการตนเอง โรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีกลุ่มโรค NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 300,000 กว่ารายในปี พ.ศ. 2552 หรือ คิดเป็น 73% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจาก กลุ่มโรค NCDs มากกว่าทั้งโลก ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2552 กับกลุ่มเป้าหมายประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ พบว่า 21.4% เป็นโรคความดันโลหิตสูง และที่น่าเป็นห่วงคือ อัตราการรับรู้ว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง อัตราการเข้าถึงบริการ และอัตราการควบคุม โรคความดันโลหิตสูงได้นั้นค่อนข้างต่ำ 6.9% (3.2 ล้านคน) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อัตราการควบคุมได้ในกลุ่ม ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ โดยเฉพาะประชากร ชายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง พบว่า 56.7% ที่รู้ตัว และมีเพียง 27.1% ที่สามารถ ควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดได้ 19.4% หรือเกือบ 9 ล้านคน มีภาวะไขมันคลอเรสเตอรอลสูง โดยผู้หญิงมี ความชุกมากกว่าผู้ชาย อสม.จึงมีบทบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวังสุขภาพกาย สุขภาพจิตของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งปัจจุบันมีโรคต่าง ๆ มากมายที่เกิดขึ้นทั้งโรคติดต่อและโรคที่ไม่ติดต่อเช่นโรคเบาหวาน โรคความดัน เกิดจากพฤติกรรมและการปฏิบัติตนไม่เหมาะสม การเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น เป็นแนวทางหนึ่งในการลดการเกิดโรคไม่ติดต่อรายใหม่และลดความรุนแรงของการเกิดโรค ทั้งนี้การเฝ้าระวังนอกเหนือจากการให้ความรู้ประกอบแล้วยังต้องมีการคัดกรอง การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงเข้ากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคและหากพบผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นจะได้ส่งต่อเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลข้างต้น ชมรมอสม.บ้านนางอ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยขึ้น ขึ้นโดยของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม กลุ่มเสี่ยงได้ปรับพฤติกรรมตนเองไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ |
80.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มป่วยดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม .กลุ่มป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรค |
80.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง พ.ศ.2568(21 มี.ค. 2568-30 ส.ค. 2568) | 0.00 | ||||||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง พ.ศ.2568 | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- อัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อลดลง
- ประชาชนมีการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น
- เกิดหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต้นแบบ 1 หมู่บ้าน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 09:33 น.