โครงการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ใน 11 ชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ใน 11 ชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L7250-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนสินไพบูลย์ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 53,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางวิภาวรรณ โกยมาศ ตำแหน่ง อสม.ชุมชนสินไพบูลย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.201396,100.595831place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี อาการมีตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก ทั้งนี้ ในแต่ละปีพบว่ามีการกระจายของเชื้อทั้ง 4 สายพันธุ์หมุนเวียนกัน และมีเชื้อที่เด่นแตกต่างกันไปในแต่ละปี ทำให้มีการระบาดของโรคมาโดยตลอด เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลา ปี 2568 พบผู้ป่วยยืนยัน 525 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.13 ต่อแสนประชากร พบเสียชีวิต 2 ราย และในพื้นที่อำเภอเมืองสงขลา พบผู้ป่วยยืนยัน 133 ราย คิดเป็นร้อยละ 28.33 ต่อแสนประชากร ไม่พบผู้เสียชีวิต และพบผู้ป่วยยืนยันในเขตเทศบาลนครสงขลา 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.48 ต่อแสนประชากร และเมื่อย้อนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสมมากถึง 248 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 615.65 ต่อแสนประชากร จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ 3 ปี ย้อนหลัง จนถึงปัจจุบัน พบว่า ปี 2565 พบผู้ป่วย 21 ราย ปี 2566 พบผู้ป่วย 78 ราย ปี 2567 พบผู้ป่วย 40 ราย และปี 2568 (วันที่ 1 มกราคม 2568 – 14 มีนาคม 2568) พบผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ 11 ชุมชน (สระเกษ,สินไพบูลย์,บ่อนวัวเก่า,ชัยมงคล,เมืองใหม่พัฒนา,พัฒนาใหม่,ร่วมใจพัฒนา,สวนพระนิเทศ,หลังวิทยาลัยพยาบาล,หลังอาชีวะ,ตลาดรถไฟ) 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 110.70 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิที่พบผู้ป่วยสะสมไข้เลือดออกลำดับต้นๆในเขตเทศบาลนครสงขลาที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก และมีแนวโน้มการระบาดของโรคที่มากขึ้นและกระจายไปทุกพื้นที่ทั้ง 11 ชุมชน จากปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในส่วนรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และการสร้างความสามัคคี ในหมู่คณะ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ทางอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ใน 11 ชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
|
100.00 | |
2 | 2. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน
|
100.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมที่ 1 กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคต่าง ๆที่บ้านและชุมชน (Big Cleaning Day)(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 35,850.00 | |||||||
2 | กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดฐานการเรียนรู้ฟื้นฟูความรู้วงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 13,800.00 | |||||||
3 | กิจกรรมที่ 3 สำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ประเมินไขว้ชุมชน) โดยอสม.แกนนำและจนท.ที่เกี่ยวข้อง(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 4,150.00 | |||||||
รวม | 53,800.00 |
1 กิจกรรมที่ 1 กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคต่าง ๆที่บ้านและชุมชน (Big Cleaning Day) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 35,850.00 | 0 | 0.00 | 35,850.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม | 0 | 2,100.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารกลางวัน | 0 | 4,200.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าจัดทำสื่อให้ความรู้ | 0 | 5,500.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวัสดุ อุปกรณ์ | 0 | 11,000.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าน้ำมันรถจักรยานยนต์ | 0 | 1,000.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าน้ำมันรถซาเล้ง | 0 | 500.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคที่บ้านและชุมชน | 0 | 11,550.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดฐานการเรียนรู้ฟื้นฟูความรู้วงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 13,800.00 | 0 | 0.00 | 13,800.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม | 0 | 3,500.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารกลางวัน | 0 | 3,500.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าตอบแทนวิทยากร | 0 | 4,800.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น | 0 | 2,000.00 | - | - | ||
3 กิจกรรมที่ 3 สำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ประเมินไขว้ชุมชน) โดยอสม.แกนนำและจนท.ที่เกี่ยวข้อง | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 4,150.00 | 0 | 0.00 | 4,150.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม | 0 | 3,850.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าสรุปรูปเล่ม | 0 | 300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 53,800.00 | 0 | 0.00 | 53,800.00 |
- ทั้ง 11 ชุมชน มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอันส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคอื่นๆ ลดลง
- ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
- ทำให้สามารถลดอัตราป่วย ไม่มีรายงายผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 11:00 น.