โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี พัฒนาการตามวัย วัคซีนครบตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี พัฒนาการตามวัย วัคซีนครบตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L5300-68-1-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 10,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวโซเฟียวิชญา ด้วงทอง |
พี่เลี้ยงโครงการ | - |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.625,100.12place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ที่ผ่านมาพบเด็กที่ได้รับวัคซีนและการคัดกรองพัฒนาการสงสัยล่าช้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในประเทศไทยโดยเฉพาะโรคที่สำคัญ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบบี วัณโรค และโรคคอตีบ โรคเหล่านี้เป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรคด้วยวัคซีน เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี โดยต้องเริ่มต้นจากเด็กในช่วงแรกเกิด - 5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นรากฐานของพัฒนาการการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญหา จึงเป็นวัยที่สำคัญและเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะสองปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน พัฒนาการของเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญหา จิตใจ อารมณ์ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีอัตราการได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู ขาดความตระหนักในการฉีดวัคซีน หรือกลัวโรคเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีน จึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน รวมถึงการคัดกรองพัฒนาการ พบว่า เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ ๑๗.๒๔ เกิดจากผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู ของเด็กแรกเกิด - 5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการคัดกรองพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้านต่าง ๆ จากปัญหาดังกล่าว ยังคงเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขและการพัฒนาให้มีคุณภาพ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิด – 5 ปี และการคัดกรองพัฒนาการตามช่วงอายุ จึงได้จัดทำโครงการเด็กน้อยสุขภาพดี พัฒนาการตามวัย วัคซีนครบตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 50 | 10,700.00 | 0 | 0.00 | 10,700.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้การคัดกรองพัฒนาการตามวัย การฉีดวัคซีนเด็ก | 50 | 10,700.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 50 | 10,700.00 | 0 | 0.00 | 10,700.00 |
ผลผลิต
๑. ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู มีความรู้ ความตระหนักในการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และการคัดกรองพัฒนาการสมวัยของเด็กแรกเกิด - ๕ ปี
๒. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และการคัดกรองพัฒนาการสมวัยของเด็กแรกเกิด - ๕ ปี
ผลลัพธ์
๑. เด็กแรกเกิด - 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และพัฒนาการสมวัย
๒. ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดู มีความรู้ ความตระหนักในการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ พัฒนาการสมวัยของเด็กแรกเกิด - ๕ ปี
๓. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแกนนำสุขภาพในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ พัฒนาการสมวัยของเด็กแรกเกิด - ๕ ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 11:13 น.