โครงการคัดกรอง ป้องกัน รู้ทันโรคเรื้อรัง ชุมชนพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรอง ป้องกัน รู้ทันโรคเรื้อรัง ชุมชนพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปี 2568 |
รหัสโครงการ | L7250-2-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนศาลาหัวยาง ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง |
วันที่อนุมัติ | 13 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 51,520.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกุศลี นิลพันธ์ ตำแหน่ง ประธาน อสม. ชุมชนศาลาหัวยาง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.200374,100.593771place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 1000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 500 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การใช้ชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง รวมทั้งการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง เหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะอ้วน เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองซึ่งอาจจะตีบหรือแตกได้ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นประจำ
ก็จะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง รวมทั้งโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้ เมื่อประกอบกับความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอรวมกันและสะสมเรื้อรังไปนาน ๆ ก็นำไปสู่การเกิดกลุ่มโรค NCDs ขึ้นได้ ซึ่งก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคสูง รวมทั้งบางโรคยังรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิต การส่งเสริมด้านพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ ส่งเสริมการออกกำลังกาย เน้นการเคลื่อนไหวการใช้แรงกายซึ่งตัวประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย สามารถปฏิบัติตนในการส่งเสริมสุขภาพที่กล่าวมา รวมทั้งมีการเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยการคัดกรองความเสี่ยง มีการสร้างความตระหนักของมหันตภัยร้ายของโรคพร้อมกับมาตรวจสุขภาพ การตรวจรักษาโรคในกลุ่มป่วยอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงการเกิดโรครายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนและค่าใช้จ่ายของครอบครัว
ปัจจุบันศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง มีจำนวนประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งหมด 8,070 คน จำนวน 2,383 หลังคาเรือน โดยมีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 4,742 คน คิดเป็นร้อยละ 58.76 จากการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทั้ง 7 ชุมชน ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ตรวจวัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ปี 2567 พบว่ากลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 2,965 คน ได้รับการคัดกรองเบาหวาน จำนวน 2,727 คน คิดเป็น 91.97% และพบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน 2,459 คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิต จำนวน 2,311 คิดเป็น 93.98%
ได้มีการจัดกลุ่มเรียนรู้ 3 อ. 2 ส. ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงโดย อสม. และกลุ่มเสี่ยงสูงส่งต่อพบพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง เพื่อส่งต่อพบแพทย์ในการวินิจฉัยโรครายใหม่ กลุ่มเสี่ยงสูงมากส่งต่อพบพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ก่อนที่จะส่งพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรครายใหม่ และในกลุ่มผู้สูงอายุต้องมีการคัดกรอง 9 ด้านเพิ่มจากกลุ่มวัยทำงาน 1) การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 2) การคัดกรองโรคเบาหวาน 3) การคัดกรองสุขภาพช่องปาก 5) การคัดกรองสุขภาพทางตา 6) การทดสอบสภาพสมอง 7) การคัดกรองโรคซึมเศร้า การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม 9) การคัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะ
ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั้ง 7 ชุมชน ของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ได้เห็นถึงความสำคัญที่จะคัดกรองสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ จึงเห็นควรให้ชุมชนศาลาหัวยาง
เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการบริหารจัดการโครงการ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและรับรู้สถานะสุขภาพของตนเอง 1.ร้อยละ 90 ประชาชน อายุ 35-59 ปี ในชุมชนได้รับการคัดกรอง/ตรวจสุขภาพเบื้องต้น |
90.00 | |
2 | 2.เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองตามมาตรฐาน 9 ด้าน 2.ร้อยละ 90 ประชาชน อายุ 35-59 ปี ในชุมชนได้รับการคัดกรอง/ตรวจสุขภาพเบื้องต้น |
90.00 | |
3 | 3.ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน 3.อัตราการเกิดโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงไม่เกินร้อยละ 5 |
100.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ประชุมแกนนำ อสม. เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานคัดกรองสุขภาพ(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 2,800.00 | |||||||
2 | กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพ(13 มี.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 48,720.00 | |||||||
รวม | 51,520.00 |
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ประชุมแกนนำ อสม. เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานคัดกรองสุขภาพ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 2,800.00 | 0 | 0.00 | 2,800.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม | 0 | 2,800.00 | - | - | ||
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 48,720.00 | 0 | 0.00 | 48,720.00 | |
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวัสดุสตริปพร้อมเข็มตรวจน้ำตาลในเลือด | 0 | 24,000.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด | 0 | 8,000.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าสำลีแอลกอฮอล์ | 0 | 1,500.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต | 0 | 6,000.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าโทรโข่ง | 0 | 3,720.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าถ่ายเอกสารแบบบันทึกการคัดกรอง พร้อมเข้าเล่ม | 0 | 3,500.00 | - | - | ||
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น | 0 | 2,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 51,520.00 | 0 | 0.00 | 51,520.00 |
1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ป้องกันการเกิดโรครายใหม่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 11:54 น.