กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ใน 7 ชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ L7250-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนศาลาหัวยาง ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 42,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุศลี นิลพันธ์ ตำแหน่ง ประธาน อสม.ชุมชนศาลาหัวยาง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.20378,100.594114place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 355 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ที่มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์      โรคไข้เลือดออก ปี 2567 ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เมื่อเข้าสู่        ฤดูฝนทำให้เหมาะแก่การขยายพันธุ์ของยุงลาย ซึ่งพื้นที่ภายในเขตเทศบาลนครสงขลานั้นได้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายและยุงรำคาญเนื่องจากมีประชากรที่หนาแน่นหลายพันครัวเรือน การปลูกอาคารบ้านเรือนที่หนาแน่น        และชุมชนแออัด ส่งผลให้การดูแลทำความสะอาดถนน คูระบายน้ำ และพื้นที่สาธารณะต่างๆไม่ทั่วถึง          อีกทั้งขาดความร่วมมือ เอาใจใส่จากประชาชนในชุมชน จึงก่อให้เกิดการแพร่พันธุ์ยุงลายในบริเวณกว้าง ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ของ 7 ชุมชน (ท่าสะอ้าน, ศาลาหัวยาง, นอกสวน,หัวป้อม, วังเขียว - วังขาว,  หลังวัดอุทัยธาราม, สวนมะพร้าว) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสม
โรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 264 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 3156.38 ต่อประชากรแสนคน
และพบจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ทั้ง 7 ชุมชนเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จำนวน 56 ราย ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดของโรคกระจายไปทุกพื้นที่ใน ๗ ชุมชน จากปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในส่วนรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีความเห็นร่วมกันที่จะให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจในโรคไข้เลือดออก การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และการสร้างความสามัคคี  ในหมู่คณะ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคและป้องกันโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้  ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ใน 7 ชุมชน เขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันควบคุม โรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม และ ค่า HI <  10 (< 10%)
100.00
2 2. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดต่อในชุมชน
  1. อัตราป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่น้อยว่า 200 ต่อแสนประชากร
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันควบคุม โรคติดต่อที่สำคัญในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดต่อในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 1 กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคต่าง ๆ ที่บ้านและชุมชน (Big Cleaning Day) 0.00 25,650.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการจัดฐานการเรียนรู้ฟื้นฟูความรู้วงจรการเกิดโรค การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0.00 13,800.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 3 สำรวจกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ประเมินไขว้ชุมชน) โดยอสม.แกนนำและจนท.ที่เกี่ยวข้อง 0.00 2,750.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม 0.00 2,100.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารกลางวัน 0.00 4,200.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าจัดทำสื่อให้ความรู้ 0.00 3,500.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 0.00 7,000.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าน้ำมันรถจักรยานยนต์ 0.00 1,000.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าน้ำมันรถซาเล้ง 0.00 500.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อนำโรคที่บ้านและชุมชน 0.00 7,350.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม 0.00 3,500.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารกลางวัน 0.00 3,500.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าตอบแทนวิทยากร 0.00 4,800.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น 0.00 2,000.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม 0.00 2,450.00 -
13 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ค่าสรุปรูปเล่ม 0.00 300.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทั้ง 7 ชุมชน มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออันส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคอื่น ๆ ลดลง
    1. ทำให้สามารถลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้
  2. ทำให้สามารถลดอัตราป่วย ไม่มีรายงายผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 12:07 น.