โครงการรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 1
ชื่อโครงการ | โครงการรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 1 |
รหัสโครงการ | 2568 – L1494 - 02 - 03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบางยาง หมู่ที่ 1 |
วันที่อนุมัติ | 4 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 มีนาคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 9,420.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสิทธิ์ อั้นซ้าย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.652,99.613place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 7 มี.ค. 2568 | 30 ส.ค. 2568 | 9,420.00 | |||
รวมงบประมาณ | 9,420.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 310 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม โดยประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อต่ำสุดเมื่อเทียบ ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก (SEARO) จากข้อมูลปีพ.ศ.2559 โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร (30-69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ถึงปีพ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อของประเทศไทยในปีพ.ศ.2556 คือความน่าจะเป็นของการเสียชีวิต ที่อายุ30 ปี ถึง70 ปีจากโรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งลดลงจาก15.3 % ในปี2550เป็น 15.1% และ 14.1 % ในปี2553, 2557ตามลำดับ หากพิจารณาเป็นอัตราตายตามอายุพบว่าอัตราการตาย ก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ ไทยเพิ่มขึ้นจาก 343.06 ต่อแสนคนในปีพ.ศ.2552 เป็น 355.30 ต่อแสนคนในปีพ.ศ.2556 ดังนั้น ดำเนินงานโดยเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 ผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 1 บ้านบางยาง มีกลุ่มเสียงทั้งหมด 27 คน กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 29 คน และกลุ่มป่วย จำนวน 4 คน และผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน มีกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด 74 คน กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 9 คน และกลุ่มป่วย จำนวน 0 คน และในปีงบประมาณ 2568 มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 310 คน และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบางยาง หมู่ที่ 1 จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐานพร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ 80 |
80.00 | |
2 | เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบ .ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบทุกคน |
80.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ |
80.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกัน ควบคุม โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการค้นพบโดยเร็วและได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 13:14 น.