โครงการซ้อมแผนป้องกันภัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ | โครงการซ้อมแผนป้องกันภัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
รหัสโครงการ | 68-L4155-03-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง |
วันที่อนุมัติ | 20 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวพาตีเม๊าะ สะมะอิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.460265,101.369502place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 และมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 ได้เห็นชอบให้สถานศึกษาระดับปฐมวัย ใช้มาตรฐานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาเป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาภายใต้การกำกับดูแล และใช้เป็นการกำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการจัดทำการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กฎกระทรวงกำหนด
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ได้กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จตามมาตรฐานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ตัวบ่งชี้ย่อย ที่ 1.3.7 จัดให้มีระบบป้องกันภัยจากบุคคลทั้งภายในและภายนอกสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และตัวบ่งชี้ย่อยที่ 1.3.8 จัดให้มีระบบรับเหตุฉุกเฉิน ป้องกันอัคคีภัย/ภัยพิบัติความเสี่ยงในพื้นที่
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง รับเด็กที่มีอายุระหว่าง 2-5 ปี ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวยังขาดประสบการณ์ในการเผชิญเหตภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบกับการเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกันภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่ใหม่ ทำให้เด็กยังไม่คุ้นเคยกับสถานที่ เพื่อเป็นการป้องกันความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จำเป็นอย่างยิ่งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องมีมาตรการรองรับสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องด้วยกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กเล็กที่ยังไม่ได้พัฒนาไปถึงขั้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่บาดเจ็บได้ง่าย และเด็กปฐมวัยยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากสถานการณ์อันตรายได้ เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นและความต้องการลงมือกระทำด้วยตนเอง ดังนั้นเด็กปฐมวัยจึงเป็นวัยที่ต้องถูกสอนและได้ปฏิบัติซ้ำๆ ในเรื่องความปลอดภัย การให้เด็กได้ทำกิจกรรมช้ำๆ ที่ได้ใช้ร่างกายในการมอง ฟัง และเคลื่อนไหว ทำให้เด็กได้ซึมซับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ง่าย เป้าหมายสูงสุดของการเรียนเรื่องความปลอดภัย คือทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการลงมือปฏิบัติ เด็กควรได้รับการเตรียมตัวให้รู้จักกับสถานการณ์ที่อันตรายเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ เด็กต้องได้รับการสอนให้สังเกต เข้าใจ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎและข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ครูต้องกระตุ้นให้เด็กได้เห็นถึงคุณค่าและเคารพกฎ เด็กย่อมมีแนวโน้มในการป้องกันอุบัติเหตุของตนเองและผู้อื่นได้
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง จัดโครงการอบรมซ้อมแผนป้องกันภัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปี 2568
ด้วยเห็นว่าการส่งเสริมความปลอดภัยด้านร่างกายให้เด็กเล็กเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือการประสบปัญหาสุขภาพที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่อไป
ในอนาคต กิจกรรมโครงการมีการซ้อมแผนป้องกันภัยที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เช่นการใช้บันได อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเรียน การป้องกันอัคคีภัย ได้แก่ อันตรายจากไฟ การซ้อมดับเพลิง และการสื่อสารกับผู้ใหญ่ทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้ ความปลอดภัยในบ้าน ได้แก่การเก็บของเล่นและสิ่งของต่างๆ ให้เข้าที่ การไม่จับ หรือสัมผัสยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง หรือสารพิษต่างๆ การระมัดระวังการใช้กรรไกร ของมีคม วิธีการใช้ของเล่นให้ปลอดภัย ความปลอดภัยจากสนามเด็กเล่น และการใช้สระว่ายน้ำสำหรับเด็กให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางน้ำ หรือการรู้จักระวังตัวเมื่อพบกับคนแปลกหน้า แล้วชักชวนไปไหนโดยที่ผู้ปกครองหรือครูไม่ทราบ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก |
||
2 | เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยด้านต่าง ที่อาจเกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
|
||
3 | เพื่อปลูกฝังให้เด็กเล็กและผู้ปกครองมีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการป้องกันตัวเองจากภัยต่าง ๆ
|
||
4 | เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ประสบการณ์ วิธีป้องกันสาธารณภัยต่างๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก มีทักษะ และความพร้อม สามารถนำไปใช้ในภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยด้านต่าง ๆ ได้อย่างไม่ตื่นกลัวหรือตกใจ |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 60 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 | |
3 - 14 มี.ค. 68 | เสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลูปัง | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 | ประชุมครูผู้ดูแลเด็กเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง เพื่อติดต่อวิทยากรให้ความรู้ | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็กเล็กพร้อมซ้อมแผนหนีภัยด้านต่าง ๆ | 60 | 10,000.00 | - | - | ||
1 - 30 ก.ย. 68 | สรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 60 | 10,000.00 | 0 | 0.00 | 10,000.00 |
1) ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีป้องกันภัยด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก
2) เตรียมความพร้อมในการป้องกันภัยด้านต่าง ที่อาจเกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3) ปลูกฝังให้เด็กเล็กและผู้ปกครองมีความตระหนัก และให้ความสำคัญในการป้องกันตัวเองจากภัยต่าง ๆ
4) เพิ่มเติมความรู้ ประสบการณ์ วิธีป้องกันสาธารณภัยต่างๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 13:54 น.