กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคัดกรอง ค้นหา และป้องกันภาวะโลหิตจางเชิงรุกในนักเรียนหญิง โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 1)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ค้นหา และป้องกันภาวะโลหิตจางเชิงรุกในนักเรียนหญิง โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ปีงบประมาณ 2568 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 68-L7884-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 232,997.20 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตติมา กาญจนซิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสโลหิตต่ำกว่าปกติ อันเนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็กที่จะใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เหล็กเป็นสารซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างฮีโมโกบิลของร่างกาย ปกติมีธาตุเหล็กอยู่ในร่างกายทั้งสิ้นประมาณ 3-5 กรัม โดยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตะวและเพศ ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กวันละประมาณ 2 - 2.5 มิลลิกรัมในหญิงวัยเจริญพันธุ์   ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ผลจากการขาดธาตุเหล็กทำให้ร่างกายมีภาวะซีด อ่อนเพีย หน้ามืด เวียนศรีษะ เหนื่อยง่าย ทำงานหรือเล่นกีฬาไม่ได้อึดเหมือนปกติ การขาดธาตุเหล็กยังส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร อันได้แก่ ลิ้นอักเสบ ภาวะกลืนลำบาก น้ำย้อยในกระเพาะอาหารลดลงทำให้เบื่ออาหาร เป็นต้น ถ้ามีภาวะขาดเหล้กอย่างเรื้อรังอาจพบเล็บงอขึ้นเป็นแอ่งคล้ายช้อนเรียกว่า เล็บรุปช้อนได้
  จากข้อมูลระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 - 49 ปี ที่ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจาง ในขณะที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และพบภาวะโลหิตจาง ระดับตำบลสะบารัง จำนวนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 - 49 ปี ในเขตรับผิดชอบทั้งหมดตรวจ 722 คน พบภาวะโลหิตจาง 365 คน คิดเป็นร้อยละ 50.55 (ที่มา : DoH Dashboard กรมอนามัย (ข้อมูลจาก HDC กระทรวงสาธารณสุข,วันที่ประมาลผล: 16 พฤสจิกายน 2566))   กระทรวงสาธารณสุข ดดยกรมอนามัยแนะนำให้จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี และยาเม้ดเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุื นอกจากนั้นยังแนะนำให้ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง เมื่อเด็กอายุ 6-12 เดือน 3-6 ปี และคัดกรองเพิ่มเติมสำหรับวัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติได้กำหนดเป็นสิทธิประโยชนืสำหรับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ดังนั้นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากธาตุเหล้กในเด็ก (จ่ายเพิ่มเติม) จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดทำโครงการพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลัประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
  2. ประชุมชี้แจง วางแผน และประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูอนามัยโรงเรียนเดชะปัตตานยานุกูล และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ได้รับทราบและเชิญชวนพ่อแม่หรือผู้ปกครองอนุญาตให้นักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับโรงเรียนเข้าร่วมกับโรงเรียนจำทำทะเบียนนักเรียนเข้าร่วมโครงการฯ และทะเบียนบริการแจกแจงรายชื่อนักเรียนหญิงชั้น ม.2-ม.6 เพื่อทำให้บริการ
  4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกดำเนินกาตามแผนในโรงเรียน ให้ความรู้เร่องภาวะโลหิตจาง แหล่งอาหารธาตุเหล็ก และการกินยาฯ นักเรียนที่เข้าโครงการฯ ลงชื่อตามทะเบียนรายชื่อ รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแลพกรดโฟลิก (Ferrofolic) เป็นรายคนจำนวน 52 เม็ด/คน โดยให้กินยาฯ ทุกวันศุกร์ก่อนนอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวม 52 ครั้ง/ปี ต่อปีการศึกษา และเจาะเลือดส่งโรงพยาบาลปัตตานีตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ตรวจ CBC) เพื่อหาภาวะโลหิตจาง
  5. กรณีหากตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ตรวจ CBC) พบนักเรียนมีภาวะโฃหิตจาง นักเรียนจะได้รับการรักษา ซึ่งอยู่ในความดูแลของแพทย์กลุ่มงานเวชกรรมสังคม
  6. ติดตามผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และนำไปปฏิบัติในเรื่องภาวะโลหิตจางแหล่งอาหารของธาตุเหล็กการกินยา
  2. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับยาเสริมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (Ferrofolic) คนละ 52 เม็ด/ ปีการศึกษาตามชุดสิทธิประโยชน์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์
  3. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (ตรวจ CBC) เพื่อภาวะโลหิตจาง
  4. นักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการรักษา
  5. นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมะาตุเหล็กเพื่อพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 14:08 น.