กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
รหัสโครงการ 2568 – L1494 - 02 - 09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนางอ
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 7,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโสพิน ทองศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.652,99.613place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 มี.ค. 2568 30 ส.ค. 2568 7,080.00
รวมงบประมาณ 7,080.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต มีแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพบริการและ ให้ความสำคัญกับชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายการร่วมลงทุนเป็นเจ้าของ ในการขับเคลื่อนงานโดยใช้กลไกระดับพื้นที่และดำเนินการครบถ้วนทุกกิจกรรมสำคัญ (กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน) ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 - 2 ปี การร่วมพัฒนาและยกระดับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กในช่วง 1,000 วันแรก ของชีวิต ต่อเนื่องไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี ผ่านกลไกตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ซึ่งเป็นกลไก ที่เกิดจากความร่วมมือภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงเด็กอายุ 5 ปี รวมถึงการส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ ์มีความพร้อมตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการส่งเสริมให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และเด็กปฐมวัยเติบโตเต็ม
      งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนางอ ตำบลนาท่ามเหนือ สถานการณ์ปัจจุบันพบว่า หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ มารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมานอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือการต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัวและสังคมไทยในภาพรวม ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่เชี่อมโยงและส่งผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนางอ จึงได้จัดทำโครงการขึ้น คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน จะช่วยให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ซึ่งครอบคลุมถึงการสร้างกลไกการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการ การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข และงานบริการด้านสังคม การพัฒนาคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และการมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัว มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์และเป้าหมายเดียวกันที่จะพัฒนาและสร้างทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน พร้อมส่งต่อพลเมืองคุณภาพให้กับประเทศไทยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดและครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเองขณะตั้งครรภ์ได้รับการดูแลที่เหมาะสม ตลอดจนมีสุขภาพที่ดีขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด

ร้อยละการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ฝากครรภ์คุณภาพ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ60         -ร้อยละโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ14

60.00
2 .เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิด-5 ปีมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม มีพัฒนาการสมวัยตามเกณฑ์ และได้รับการดูแลสุขภาพฟัน

ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
ไม่เกินร้อยละ 7           -ร้อยละของเด็กแรกเกิดถึงต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
ไม่น้อยกว่าร้อยละ50           -ร้อยละของเด็ก0-5 ปี สูงดีสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ64           -ร้อยละของเด็ก0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ90           -ร้อยละของเด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ ไม่เกินร้อยละ48

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม 2.หญิงตั้งครรภ์คลอดอย่างปลอดภัย และลูกเกิดรอด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2568 14:50 น.