โครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน พื้นที่ ม.2,3 และ 4 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน พื้นที่ ม.2,3 และ 4 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5290-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร |
วันที่อนุมัติ | 26 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 75,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลรอฮิม เจ๊ะเฮ็ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายลิขิต อังศุภานิช |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.787,99.865place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 96 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการสำรวจพบว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลสาคร มีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและของครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญของครอบครัว ได้แก่การเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศีรษะ ปวดขา โรคกระเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่าย และด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วย พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการดูแลสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้เป็นหมอประจำบ้านที่มีความรู้และมีประสิทธิภาพในการดูแลคนในชุมชน
ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้และมีระบบการเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาครจำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 3,312 คน มีบุคลากรสาธารณสุข 6 คน ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 3 คน นักวิชาการทันตสาธารณสุข
1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 1 คน อสม. 74 คน โรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 1 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา
จำนวน 3 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการมีดังนี้ ผู้พิการ จำนวน 221 คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 142 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 479 คน ผู้สูงอายุ/ผู้พิการกลุ่ม LTC จำนวน 28 คน (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร, 2567)
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม
ในทุกภาคส่วนพื้นที่ ม.2,3 และ 4 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลสาคร ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มวัยต่างๆในพื้นที่มีความใส่ใจด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ส่งเสริมความรู้และทักษะสุขภาพ ควบคู่ความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | การมีข้อมูลสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ การมีข้อมูลสุขภาพเพื่อการแก้ไขปัญหา ร้อยละ ๙๐ |
||
2 | นักเรียนมัธยมศึกษามีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ นักเรียนมีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ ๙๐ |
||
3 | ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคในชุมชน เพื่อชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคในชุมชน |
||
4 | เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลสาคร มีการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาพในพื้นที่
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชุมคณะกรรมการชมรม อสม. ตำบลสาคร พื้นที่ 2,3 และ 4 และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- วิเคราะห์ปัญหา
- สรุปปัญหา วางแผนการแก้ไขปัญหา
- จัดทำโครงการ
- ดำเนินกิจกรรมโครงการตามกิจกรรมย่อย
- ประชุมคณะกรรมการชมรม อสม. ตำบลสาคร พื้นที่ 2,3 และ 4 และเจ้าหน้าที่เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
- การมีข้อมูลสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ
- นักเรียนมัธยมศึกษามีทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ
- ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคในชุม
- ทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลสาคร มีการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาพในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 10:42 น.