โครงการพัฒนาขีดความสามารถพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาขีดความสามารถพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L4140-3-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา |
วันที่อนุมัติ | 23 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 35,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวขจรณ์ กระจ่างช่วย |
พี่เลี้ยงโครงการ | องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.584,101.162place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลลำพะยา มีความประสงค์จะจัดทำ โครงการพัฒนาขีดความสามารถพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา เป็นเงิน 35,000.- บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ส่วนที่ 1 : รายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (สำหรับผู้เสนอฯ ลงรายละเอียด)
หลักการเหตุผล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เป็นประเทศพัฒนาแล้วและสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ใหม่ของโลก ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ได้แก่ “ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์”ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชน ทุกช่วงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การวางรากฐานที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย จึงเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) เป็นช่วงอายุที่สำคัญของชีวิต เพราะเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ด้าน จากบิดามารดาและผู้คนรอบข้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาจิตใจและความคิดของเด็กหล่อหลอมให้เกิดเป็นบุคลิกภาพและอุปนิสัยของเด็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ช่วงอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี เป็น “โอกาสทอง” ที่เด็กมีความเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สูงที่สุด เด็กจะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เต็มตามศักยภาพถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี โดยเริ่มจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการกระตุ้นส่งเสริม ให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการของทารกและเด็กปฐมวัย พบว่า การเลี้ยงดูอย่างอบอุ่น และการกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กเล็กกับพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู สามารถช่วยเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เชิงบวกได้อย่างถาวร อีกทั้งอาจจะช่วยเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองเด็กไปตลอดชีวิต ดังนั้นเพื่อให้พ่อแม่ ผู้ปกครองตระหนัก มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดู ทั้งด้านโภชนาการ การเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริการส่วนตำบลลำพะยา จึงจัดทำ โครงการพัฒนาขีดความสามารถพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็กขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการ พฤติกรรม และสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสมตามวัย
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 30 มิ.ย. 68 | กิจกรรมที่ 1 เรื่อง การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย - กิจกรรมที่ 2 เรื่อง การเจริญเติบโตและโภชนาการ - กิจกรรมที่ 3 เรื่อง พัฒนา IQ-EQ ด้วย 2 ก 2 ล (กิน กอด เล่น เล่า) - กิจกรรมที่ 4 เรื่อง ดูแลสุขภาพช่องปาก | 100 | 35,000.00 | - | ||
รวม | 100 | 35,000.00 | 0 | 0.00 |
พ่อแม่ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการ พฤติกรรม และสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเหมาะสมตามวัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 11:20 น.