โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันหกล้มและสมองเสื่อมในครอบครัวผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง บ้านทุ่งริ้น ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันหกล้มและสมองเสื่อมในครอบครัวผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง บ้านทุ่งริ้น ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5290-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ |
วันที่อนุมัติ | 26 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 18,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเอมอร ขุนเพชร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายลิขิต อังศุภานิช |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.787,99.865place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยทำให้ลดอัตราการเพิ่มประชากรได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้จำนวนและสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีอายุ 60 ปี มีจำนวนสูงขึ้น จนเป็นประเทศของสังคมผู้สูงวัย ในอนาคตอีก 20 ปี (พ.ศ.2573) ประชากรสูงวัยจะมีสัดส่วนสูงขึ้น ถึง 2เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2553 และประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นอีก สังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ (สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย, 2564)
ความเจริญทางเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นเหตุให้มนุษยชาติมีอายุยืนยาวขึ้น การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนประชากรจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนดูแลประชากรในวัยสูงอายุอย่างรอบด้าน ซึ่งหมายรวมถึง ในด้านสุขภาพ จิตใจ สังคม จึงมีโอกาสที่ต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายรูปแบบ เช่น การพลัดตกหกล้ม กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ความคิดความจำ สมองเสื่อม เป็นต้นอีกทั้งความสามารถทางสมองที่มีแนวโน้มเสื่อมถอยลง แม้ว่าการหลงลืมที่เกิดกับผู้สูงอายุ ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น แต่ในทางกลับกัน การหลงลืม อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงอาการของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งไม่ใช่ ภาวะปกติของผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมลงในความจำ ความคิด การรับรู้เวลา สถานที่และบุคล ภาษา ความสามารถในการเรียนรู้และการตัดสินใจ รวมถึงความสามารถที่จะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ข้อมูลจากศูนย์สุขภาพชุนชนตำบลท่าแพ (คลินิกหมอครอบครัว PCU ท่าแพ) ได้คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุบ้านทุ่งริ้น ตำบลสาคร มีประชากรผู้สูงอายุ จำนวนประมาณ 130 คน (ฐานข้อมูล HDC,2567)
พบมีความเสี่ยง 9 ด้าน รวม 63 คน มีความเสี่ยงด้านหกล้ม 25 คน เสี่ยงด้านความคิดความจำ 20 คน(ข้อมูล สามหมอ กลุ่มงานปฐมภูมิโรงพยาบาลท่าแพ ธันวาคม 2567) ข้อมูลทางสถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นถึง จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ภาวะหกล้ม ซึ่งควรได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันและชะลอความเสื่อม ดังนั้นจึงได้ จัดโครงการ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันหกล้มและสมองเสื่อมในครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง บ้านทุ่งริ้น ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุที่เสี่ยงภาวะหกล้มได้รับการทำแผนส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะเสื่อม ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงหกล้มได้รับการทำแผนส่งเสริมสุขภาพชะลอเสื่อมหกล้ม ร้อยละ 100 |
||
2 | เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุที่เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมได้รับการทำแผนส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะเสื่อม ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสมองเสื่อมได้รับการทำแผนส่งเสริมสุขภาพชะลอสมองเสื่อม ร้อยละ 100 |
||
3 | เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและปฏิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะเสื่อมหกล้มและสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสื่อมหกล้มมี Care giver ดูแลให้ปฏิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 100 |
||
4 | เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและปฏิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะสมองเสื่อม ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมี Care giver ดูแลให้ปฏิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 100 |
||
5 | เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนืองและส่งต่อเพื่อการรักษา กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามแผนและมีความเสื่อมเกินค่าเป้าหมายได้รับการส่งต่อเข้าคลินิกผู้สูงอายุ ร้อยละ 100 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีการดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงโครงการ
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอรับงบประมาณ
3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
ขั้นดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ความรู้กับชุมชน ครอบครัว ผู้ดูแล และผู้สูงอายุ บ้านทุ้งริ้น
กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอเข่าเสื่อม ชะลอสมองเสื่อม ในกลุ่มเสี่ยงหกล้มและกลุ่มเสี่ยงด้านความคิดความจำ
กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทดสอบในกลุ่มเสี่ยงหกล้มและกลุ่มเสี่ยงด้านความคิดความจำเพื่อประเมินผลลัพธ์
- กลุ่มผู้สูงอายุที่เสี่ยงภาวะหกล้มและเสี่ยงสมองเสื่อมได้รับการทำแผนส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะเสื่อม
- กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและปฏิบัติตามแผนส่งเสริมสุขภาพเพื่อชะลอภาวะเสื่อมหกล้มและสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ
- เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนืองและส่งต่อเพื่อการรักษา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 11:34 น.