กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการและซีดในเด็กก่อนวัยเรียน(0-5 ปี)
รหัสโครงการ L3053-68-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 37,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสามัน ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยก่อนเรียนถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ การที่ประชากร กลุ่มนี้จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้นั้นจะต้องมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจเหมาะสม กับวัย ดังนั้นโยบายแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนได้มุ่งเน้นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะเรื่อง การบริโภคอาหารที่ถูกต้องก็จะทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่สมบูรณ์ซึ่งก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีตามมาด้วย ซึ่งกล่าวได้ว่าคุณภาพชีวิตที่ดีต้องอาศัยการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นวัยเริ่มแรกของการเข้าสู่สังคมโรงเรียน เป็นวัยที่มีการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เริ่มมีสังคมเพื่อน สังคมโรงเรียน ถ้าได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ดีจะเป็นทรัพยากรและพลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป สถานการณ์ด้านโภชนาการพื้นที่ชายแดนใต้ ปี 2565 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ พบว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) มีปัญหาทุพโภชนาการติด 1 ใน 5 อันดับสูงสุดของประเทศ โดยพบเด็กอายุ 1-5 ปี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นหรือมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุร้อยละ 20 สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอยู่ที่ร้อยละ 13 ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดสารอาหารต่อเนื่อง กระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว รวมถึงส่งผลต่อความไม่มั่นคงของมนุษย์และเศรษฐกิจประเทศ จากการประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานทุพโภชนาการเด็ก ช่วงอายุ 0-5 ปี ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์ ทุพโภชนาการเด็กที่อยู่ในพื้นที่พิเศษของจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ภาวะทุพโภชนาการเด็กเกิดจากปัจจัยร่วมหลายประการ คือ 1) ปัจจัยกายภาพของเด็ก พบว่า น้ำหนักแรกเกิดของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และผอมลง ถึง 4 เท่า 2) ปัจจัยครอบครัว พบว่า แม่ที่ตั้งครรภ์มีภาวะซีดเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เข้าไม่ถึงการฝากครรภ์ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ประกอบกับครอบครัวมีฐานะยากจนทำให้ไม่มีค่าเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาล และยินดีคลอดกับหมอตำแยในชุมชน 3) ปัจจัยสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมพบว่า คนในพื้นที่มีค่านิยมและความเชื่อเรื่องการดูแลแม่หลังตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรไม่ถูกต้อง และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์สมัยใหม่ และ 4) ปัจจัยจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ พบว่า เด็กในครอบครัวที่โดนหมายค้น หรือมีบุคคลในครอบครัวโดนหมายจับคดีความมั่นคงมีภาวะ ทุพโภชนาการ เพราะครอบครัวหวาดระแวงจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ มีการย้ายถิ่นฐานและหลายครอบครัวนำเด็ก ช่วงอายุ 0-3 ปี ติดตามไปด้วยส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด และยังพบว่าเด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ผู้สูงอายุดูแลหรือให้พี่เลี้ยงน้อง (เด็กเลี้ยงเด็ก) ซึ่งขาดทักษะการเลี้ยงดู เด็กจึงถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดภูมิคุ้มกันโรค และมีภาวะเจ็บป่วยง่าย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ ยังส่งผลให้เกิดภัยคุกคามทางสุขภาพ จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ปีงบประมาณ 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 11 มีนาคม 2568 เด็กอายุ 0-5 ปี ทั้งหมด 480 คน ได้รับการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทั้งหมด 249 คน คิดเป็นร้อยละ 51.87มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 50 คน คิดเป็นร้อยละ 20.08 ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ภาวะทุพโภชนาการมีไม่เกินร้อยละ 7 จากข้อมูลสถิติจะเห็นได้ว่า เด็กอายุ 0-5 ปีในเขตรับผิดชอบยังมีปัญหาภาวะการเจริญเติบโต ซึ่งภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านร่างกายและสมองของเด็กที่กำลังเจริญเติบโตให้หยุดชะงัก มีผลต่อระดับสติปัญญาไม่ดีและทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อย (Singhasame,Suwanwaha, & Sarakshetrin, 2017) ภาวะโภชนาการที่ดีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็ก ซึ่งมีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ป้องกันปัญหาสุขภาพ และวางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ จึงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้งจึงเห็นความสำคัญในการให้ความรู้พ่อแม่เกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่สามารถเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับลูก และสามารถจัดจานอาหารที่สวยงามเพื่อเพิ่มความต้องการอยากรับประทานอาหารของเด็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหาภาวะการกินยากของเด็ก ให้กับผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการร้อยละ 60

50.00 60.00
2 2. เพื่อปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กได้รับการชั่งน้ำหนัก ติดตามประเมินภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 90

50.00 90.00
3 3. เพื่อเฝ้าระวังภาวะซีดในเด็กก่อนวัยเรียน

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องซีดร้อยละ 60

50.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,850.00 0 0.00
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำอสม. และผู้ปกครองที่บุตรมีภาวะทุพโภชนาการ 0 14,950.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 2. กิจกรรมชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อประเมินภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน 0 9,900.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องซีด และสาธิตอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและอาหารที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะซีด 0 13,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ในการส่งเสริมและประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
  2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและตรวจประเมินภาวะโภชนาการ
  3. เด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข
  4. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซีด
  5. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เกลือไอโอดีนในการประกอบอาหาร และประโยชน์ของสารไอโอดีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 11:46 น.