ปลูกฝังจิตใต้สำนึก เพิ่มทักษะชีวิต ห่างไกลยาเสพติดเด็กและเยาวชนตำบลท่าเรือ
ชื่อโครงการ | ปลูกฝังจิตใต้สำนึก เพิ่มทักษะชีวิต ห่างไกลยาเสพติดเด็กและเยาวชนตำบลท่าเรือ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าเรือ |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 มีนาคม 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,218.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวนูรฮูดา เตาวะโต |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ในปัจจุบันเขตพื้นที่ตำบลท่าเรือได้ประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่มีจำนวนผู้เสพยามากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงกลุ่มเสี่ยงอีกมากมาย และปัญหายาเสพติดมักเกิดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันและทักษะในการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากยาเสพติดมากพอ ปัญหายาเสพติดเกิดจากหลายสาเหตุ สาเหตุจากตนเองความอยากรู้อยากลอง การอยากลองเสพติดด้วยตนเองหรือการถูกกระตุ้นจากบุคคลภายนอก เช่น เพื่อน หรือคนใกล้ตัวที่ใช้ยาเสพติด สาเหตุจากครอบครัว การที่คนในครอบครัวมีการใช้ยาเสพติดทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ การเลี้ยงดูใส่ใจให้ความรัก พี่ไม่เพียงพอ หรือเกิดความรุนแรงในครอบครัว สาเหตุจากหลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) สถานการณ์ในปัจจุบันเขตพื้นที่ตำบลท่าเรือได้ประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่มีจำนวนผู้เสพยามากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงกลุ่มเสี่ยงอีกมากมาย และปัญหายาเสพติดมักเกิดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันและทักษะในการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากยาเสพติดมากพอ ปัญหายาเสพติดเกิดจากหลายสาเหตุ สาเหตุจากตนเองความอยากรู้อยากลอง การอยากลองเสพติดด้วยตนเองหรือการถูกกระตุ้นจากบุคคลภายนอก เช่น เพื่อน หรือคนใกล้ตัวที่ใช้ยาเสพติด สาเหตุจากครอบครัว การที่คนในครอบครัวมีการใช้ยาเสพติดทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ การเลี้ยงดูใส่ใจให้ความรัก พี่ไม่เพียงพอ หรือเกิดความรุนแรงในครอบครัว สาเหตุจากความเครียด เรื่องเรียน การไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม โรคซึมเศร้า สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม สถานที่อยู่อาศัยเป็นชุมชนแออัดที่เป็นแหล่งค้าและเสพยาเสพติด อีกทั้งในปัจจุบันยาเสพติดนั้นมีหลายรูปแบบมากมาย เช่น บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นยาเสพติดที่เด็กและเยาวชนในปัจจุบันใช้เป็นจำนวนมาก ปัญหายาเสพติดนั้นยังมีผลกระทบทั้งสุขภาพรวมไปถึงครอบครัว ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชน การสร้างความรู้ความตระหนักจิตใต้สำนึก ทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันในเรื่องการป้องกันยาเสพติด จึงเป็นแนวทางสำคัญในการลดการแพร่ระบาดของผู้เสพยาเสพติดหรือกลุ่มเสี่ยง โดยผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้และเน้นย้ำให้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากปัญหายาเสพติด การสร้างเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดไม่ยอมรับการใช้ยาเสพติดทุกรูปแบบ การสร้างสภาพแวดล้อมหรือเครือข่ายที่สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สูงสุด และมีทักษะในการป้องกันและห่างไกลยาเสพติดเพื่อลดจำนวนการแพร่ระบาดของปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน จากสาเหตุและผลกระทบของปัญหายาเสพติดที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น สภาเด็กและเยาวชน จึงได้จัดทำโครงการ ปลูกฝังจิตใต้สำนึก เพิ่มทักษะชีวิต ห่างไกลยาเสพติดเด็กและเยาวชนตำบลท่าเรือ ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะในการใช้ชีวิตและภูมิคุ้มกันที่ดีและห่างไกลจากยาเสพติด ร้อยละ 70 เด็กและเยาวชนมีทักษะในการใช้ชีวิตและภูมิคุ้มกันที่ดีและห่างไกลจากยาเสพติด |
||
2 | ๒. เพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงผลกระทบและความอันตรายของยาเสพติดทุกชนิด ร้อยละ 70 เด็กและเยาวชนตระหนักถึงผลกระทบและความอันตรายของยาเสพติดทุกชนิด |
||
3 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 70 เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้และหาแนวทางแก้ไขปัญหายา เสพติด |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 | |
24 มี.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
๑.จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขออนุมัติ
๒.ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการหาแนวทางดำเนินงานร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าเรือ
๓.จัดทำโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ
๔. ประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเชิญเข้าร่วมโครงการจำนวน ๔0 คน
๕. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต.ท่าเรือ, วิทยากร, สภาเด็กและเยาวชน
๖. จัดกิจกรรมอบรมตามกำหนดการ บรรยายหัวข้อเรื่อง
๖.๑ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติด
๖.๒ การเพิ่มองค์ความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน โทษของยาเสพติดชนิดต่างๆ
๖.๓ เสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อการป้องกันยาเสพติด
7. แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่มละ 7 คน
8. ประเมินผลการดำเนินงาน
9. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินการ
๑. เด็กและเยาวชนมีทักษะในการใช้ชีวิตและภูมิคุ้มกันที่ดีและห่างไกลจากยาเสพติด ๒. เด็กและเยาวชนมีความตระหนักถึงผลกระทบและความอันตรายของยาเสพติดทุกชนิด ๓. เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้และหาแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 11:51 น.