โครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้อรัง (NCD) บ้านยาบี ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้อรัง (NCD) บ้านยาบี ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L2490-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.1 บ้านยาบี |
วันที่อนุมัติ | 25 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรุดสือนี แอสะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 13.60 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 10.20 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บด้วยโรคเรื้อรัง เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านยาบีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอ ปี 2567 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงความดัน จำนวน 435 คนคิดเป็นร้อยละ 94.56 พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 35 คิดเป็นร้อยละ 7.60 และกลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 3.44 และประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวานจำนวน 425 คน คิดเป็นร้อยละ 92.30 พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 35 คนคิดเป็นร้อยละ 8.23 และจากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลกระทบนั่น คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.1 บ้านยาบี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนจัดการสุขภาพห่างไกลโรคเรื้อรัง (NCD)ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน |
13.60 | 90.00 |
2 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพื่อสร้างแกนนำตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน |
10.02 | 60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 11,800.00 | 0 | 0.00 | 11,800.00 | |
2 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ในชุมชน ม.1 บ้านยาบี | 0 | 2,500.00 | - | - | ||
2 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป | 0 | 9,300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 11,800.00 | 0 | 0.00 | 11,800.00 |
- ประชาชนอายุ 35ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน
- อสม. มีความรู้ในการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง-เบาหวาน อย่างถูกต้องและสามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนและการรักษาได้อย่างเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 00:00 น.