โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องโดยการใช้รอกกายภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องโดยการใช้รอกกายภาพ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์บริการคนพิการตำบลท่าเรือ |
วันที่อนุมัติ | 24 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 มีนาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายรอศักดิ์ ดวงตา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 5 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องในชุมชน ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อย่างยั่งยืนโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกายต้องพึ่งพาบุคลอื่นในระยะยาวจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้ป่วยถูกจำกัดให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ การที่ผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องไม่สามารถเ ข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ลดลงรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
ศูนย์บริการคนพิการตำบลท่าเรือ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องโดยการใช้รอกกายภาพซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป โดยมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือบางอย่าง เพื่อช่วยในการฝึกหัดร่างกาย และต้องได้รับการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้ระยะเวลานาน ทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีภาระเรื่องเวลาและหน้าที่การงาน เป็นเหตุให้ดูแลผู้ป่วยได้ไม่ดีตามความจำเป็นของการรักษา เช่น การบริหารกล้ามเนื้อแขนและขาของผู้ป่วยในเรื่องการรักษาอาการนี้สามารถทำได้ โดยการใช้วิธีกายภาพบำบัด ซึ่งในโรงพยาบาลก็มีการรักษาในลักษณะนี้ แต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษามีราคาสูง ด้วยเหตุนี้จึงนำรอกชักมือรอก-เท้าซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ประยุกต์ให้ออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง ประหยัดพื้นที่และการทำงานไม่ซับซ้อน ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้ด้วยตนเอง เหมาะกับผู้ป่วยที่ญาติไม่สามารถทำหัตถบำบัดให้ผู้ป่วยได้ทุกครั้ง และสภาพบ้านที่ไม่มีขื่อก็สามารถใช้รอกชักมือ-เท้าได้ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพให้ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ให้ข้อจำกัดดังกล่าวลดลง หรือหมดไปเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมลดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง ร้อยล่ะ70 เสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง |
||
2 | เพื่อให้ผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้อุปกรณ์ทำกายบริหารด้วยตนเองได้ง่ายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและลดภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล ร้อยล่ะ 70 ผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้อุปกรณ์ทำกายบริหารด้วยตนเองได้ง่ายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและลดภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 | |
24 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | ขึ้นทะเบียนเครือข่าย รถรับ-ส่ง ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ และด้านอื่นๆ | 0 | 0.00 | - | - | ||
24 มี.ค. 68 | ให้บริการรับ -ส่ง ผู้ทุพพลภาพ เพื่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุข | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
- บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข หรืออาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ลงไปประเมินสภาพของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องโดยการใช้รอกชักมือ-เท้า
- จัดกิจกรรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย
- กิจกรรมสาธิตฝึกปฏิบัติ ทำชักรอกมือ-เท้า
- ติดตามประเมินผล ระยะเวลา 3 เดือน
- สรุปโครงการ
- ผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องสามารถใช้อุปกรณ์ทำกายบริหารด้วยตนเองได้ เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและลดภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล
- ผู้พิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องได้รับการฟื้นฟูสภาพที่เหมาะสมลดภาวะแทรกซ้อนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 12:27 น.