โครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจ ใส่ใจผู้สูงอายุ ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจ ใส่ใจผู้สูงอายุ ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568 – L1494 - 02 - 13 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนางอ |
วันที่อนุมัติ | 4 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 มีนาคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 3,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประคอง ท่าจีน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.652,99.613place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 7 มี.ค. 2568 | 30 ส.ค. 2568 | 3,600.00 | |||
รวมงบประมาณ | 3,600.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สัดส่วนผู้สูงอายุของโลก (มากกว่า 60 ปีขึ้นไป) มีอัตราเพิ่มจากร้อยละ 9.2 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 11.7 ในปี 2556 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21.1 ในปี2593 โดยจำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกจะเพิ่มจาก 841 ล้านคนในปี 2556 เป็นราว 2 พันล้านคนในปี 2593 ในภูมิภาคเอเชียมีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรอายุมากกว่า 60 ปีถึงราว 469 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 56 ของประชากรสูงอายุทั่วโลก ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุในจีนถึงราว 230 ล้านคน และในอินเดีย อีกราว 100 ล้านคน ส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้สูงอายุราว 55 ล้านคน และญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 32 ของประชากรทั้งประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่อพูดถึงประเทศผู้สูงอายุ และในกลุ่มประเทศในทวีปยุโรปส่วนใหญ่มีสัดส่วนผู้สูงอายุในระดับสูง สังเกตได้จากประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 20 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปยุโรป บ่งบอกถึงศักยภาพของการเป็นตลาดสินค้าผู้สูงอายุ จากรายงานการประเมินและคัดกรองสุขภาพจำแนกตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ โดยกระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 พบว่า เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 96.66 ติดบ้าน ร้อยละ 2.73 และติดเตียง ร้อยละ 0.62 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบ มักเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 15.55 โรคเบาหวาน ร้อยละ 9.84 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 7.72 ภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 0.88 และภาวะหกล้ม ร้อยละ 3.12 ในปี พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มสูงถึง 2,018 คน หรือเฉลี่ยวันละ 6 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากถึง 1,046 คน หรือเฉลี่ยวันละ 3 คน และร้อยละ 50 ผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาจากการหกล้มเสียชีวิตใน 1 ปี (กรมควบคุมโรค, เมษายน 2562) และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ 5 ด้าน ในปี 2563 และ 8 ด้าน ในปี 2564 พบว่า ผุ้สูงอายุมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ร้อยละ 37.8 และ ร้อยละ 30.8 ตามลำดับ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฃบ้านนางอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ คุณค่าของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์ต่อสังคม จึงได้ดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจ ใส่ใจผู้สูงอายุ ประจำปี 2568 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | .เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ .ผู้สูงอายุร้อยละ 90 สามารถดูแลตัวเองได้ตามสมควร ช่วยลดภาระของครอบครัว สังคม ชุมชน ได้ในระดับหนึ่ง |
90.00 | |
2 | เพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า ผู้สูงอายุร้อยละ 90 มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข |
90.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 14:01 น.