โครงการส่งเสริมทักษะทักษะชีวิตเพื่อนใจวัยทีนในสถานศึกษา
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทักษะทักษะชีวิตเพื่อนใจวัยทีนในสถานศึกษา |
รหัสโครงการ | 68-L5278-01-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบ้านพรุ |
วันที่อนุมัติ | 3 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 20 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 25 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 37,720.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวินัย รัตนพันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองบ้านพรุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 มี.ค. 2568 | 15 ก.ย. 2568 | 37,720.00 | |||
รวมงบประมาณ | 37,720.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล ช่วงอายุ 11 - 13 ปี ถือเป็นวัยรุ่นตอนต้น ซึ่งในแต่ละช่วงจะมีความกังวลในเรื่องต่าง ๆ ที่ต่างกัน ช่วงวัยนี้จะคำนึง ถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากกว่าช่วงอื่น ๆ เช่น เมื่อเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เด็กจะเกิดความกังวลฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ร่างกายสูงใหญ่ขึ้น ในเด็กบางคนอาจเกิดความไม่มั่นใจ หรือรู้สึกว่า แขน ขา ยาว ไม่สมส่วน เสียงแตกอาจรู้สึกรำคาญตนเอง มีอารมณ์หงุดหงิดแปรปรวนได้ง่าย ในช่วงวัยนี้ เด็กจะเริ่มปรึกษาเพื่อนมากขึ้น หลีกเลี่ยงที่จะปรึกษา พ่อแม่ เพราะเด็กต้องการพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ ต้องการคิดด้วยตนเอง และเริ่มมีความขัดแย้งกับพ่อแม่มากขึ้น เพราะต้องการการทดลองที่จะออกห่างจากพ่อแม่ โดยให้ความสำคัญกับเพื่อนมากขึ้น ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจะแตกต่างจากวัยเด็กอย่างชัดเจน ถ้าวัยนี้เรียนรู้ไปอย่างไรแล้ว มักจะเกิดพฤติกรรมติดตัว กลายเป็นนิสัยและบุคลิกภาพซึ่งจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยากในภายหลัง วัยนี้จึงควรมีการเรียนรู้อย่างถูกต้องก่อนที่วัยรุ่นจะไปเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างผิดๆ และกลายเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่อไป เช่น ปัญหายาเสพติด หรือปัญหาทางเพศ ในปัจจุบันพบว่าวัยรุ่นเกิดปัญหาทางเพศขึ้นมาก เนื่องจากสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม มีการกระตุ้นยั่วยุในเรื่องเพศอย่างมาก วัยรุ่นส่วนใหญ่จะได้รับข้อมูลจากสื่อที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดพฤติกรรมทางเพศ ที่เป็นปัญหา เช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองที่ไม่เหมาะสม การคบเพื่อนต่างเพศในวัยเรียนการมีเพศสัมพันธ์กันในวัยรุ่นการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การทำแท้ง การมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการทางเพศการเกิดโรคติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ การแต่งงานในวัยรุ่น การมีบุตรในวัยรุ่น การมีปัญหาครอบครัวในวัยรุ่น เป็นต้น งานป้องกันและควบคุมโรค ฯ เทศบาลเมืองบ้านพรุ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทักษะชีวิตเพื่อนใจวัยทีนในสถานศึกษา ประจำปี 2568 ขึ้น โดยดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน เพื่อเสริมทักษะชีวิตให้นักเรียนได้มีความรู้ สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับวัย ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และพัฒนาตนเองเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี พร้อมที่จะดำเนินชีวิตครอบครัวได้อย่างปลอดภัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และปัญหาด้านพฤติกรรมทางเพศ ที่ไม่เหมาะสม
2. เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้เรื่อยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ใช้เวลาว่างไปมั่วสุมในสิ่งอบายมุข ยาเสพติดให้โทษ สื่อลามกอนาจาร
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 68 - 20 ก.ย. 68 | กิจกรรมละลายพฤติกรรม "เธอกับฉันอยู่ร่วมกันอย่างไร ICe Breaking" | 200 | 16,840.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 20 ก.ย. 68 | กิจกรรมบรรยายเชิงปฏิบัติการฐานที่ 1 กิจกรรมบ้าน วัด โรงเรียน | 200 | 20,880.00 | - | ||
รวม | 400 | 37,720.00 | 0 | 0.00 |
1.เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจในโทษพิษภัยของยาเสพติด และปัญหาเพศศึกษาในโรงเรียน 2.การแพร่ระบาดของยาเสพติด และปัญหาทางเพศลดลงและหมดไปในที่สุด 3.เยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 14:12 น.