กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้เรื่องน้ำมันทอดซ้ำเพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5290-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 12,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส ซารีญา หลังลีงู
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการบริโภคอาหารทอดที่เพิ่มมากขึ้น จนผลิตภัณฑ์อาหารทอดต่างๆ กลายเป็นอาหารขายดี ทั้งในระดับชุมชนจนถึงห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ มีการใช้น้ำมันทอดอาหารทั้งที่ทำจากสัตว์และพืช โดยเฉพาะน้ำมันพืชที่แต่ละปีประเทศไทยบริโภคถึงปีละ 800,000 ตัน ซึ่งข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการอาหารทอด  จะใช้น้ำมันในการทอดซ้ำหลายครั้ง จนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไป  จึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่  หรือเติมน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไป การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ “สารโพลาร์” ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็ง ซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหาร กำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก โดยการตรวจปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมัน  จะช่วยให้ผู้ประกอบการอาหารทอด  ทราบเวลาที่ต้องเปลี่ยนน้ำมันของร้านตนเองที่ยังคงความปลอดภัย  และลดต้นทุนตามสมควร นอกจากนี้ การป้องกันไม่ให้น้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมาสู่วงจรการบริโภค โดยนำไปผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลหรือนำไปใช้ในการผลิตสบู่ ซึ่งถือเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยที่ดีทางหนึ่งด้วย ตำบลสาคร มีวัฒนธรรมการรับประทานอาหารทอดโดยแพร่หลาย เช่น อาหารเช้านิยมรับประทานข้าวเหนียวไก่ทอด ดื่มน้ำชา คู่กับขนมทอด เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยทอด เป็นต้น จากสถานการณ์การตรวจน้ำมันทอดซ้ำ ในเขตตำบลสาคร ที่ผ่านมา เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลสาคร ยังมีการใช้น้ำมันทอดซ้ำอยู่ในพื้นที่ ดังนั้น เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลสาคร โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคีเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนจังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการ “ความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำในพื้นที่ตำบลสาคร ” เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันทอดซ้ำในพื้นที่ตำบลสาคร”ขึ้น เพื่อจัดการระบบการนำน้ำมันทอดซ้ำกลับมาใช้ในกระบวนการห่วงโซ่อาหาร โดยอาศัยกลไกความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดการจัดการน้ำมันทอดซ้ำในพื้นที่ตำบลสาคร

ไม่มีน้ำมันทอดซ้ำ หรือน้ำมันที่เหลือจากการทอดมแต่กระบวนการจัดการอย่างชัดเจน

2 เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการอาหารทอด ผู้ประกอบการรับซื้อน้ำมัน

มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการอาหารทอด ผู้ประกอบการรับซื้อน้ำมัน

3 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้และตระหนักเรื่องผลกระทบการใช้น้ำมันทอดซ้ำในชุมชน

ได้ความรู้และตระหนักเรื่องผลกระทบการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ 1. กำหนดโครงการ ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ 2. ดำเนินการเขียนโครงการ 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
ระยะดำเนินการ 1. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย ประชาชนในหมู่บ้าน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข/ร้านค้า 3. ติดต่อวิทยากร 4. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ระยะประเมินผล 1. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีจิตสำนึกในการร้านในชุมชน
  2. ลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำ
  3. ครัวเรือนมีความรู้ในที่ถูกต้องในเรื่องการบริโภคน้ำมันที่ทอดซ้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 14:42 น.