กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างทัศนคติบวกเพื่อสร้างภูมิต้านทานที่เข้มแข็งในเด็ก 0 – 5 ปี ปี 2568
รหัสโครงการ 06/68
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผอ.รพ.สต.บ้านอุเผะ
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 68,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้วัคซีนใน 0 - 5 ปี เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีพัฒนาการสมวัย หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ ทำให้บิดา มารดาและครอบครัวได้รับความเดือดร้อนจากการเจ็บป่วยของบุตรและสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการเจ็บป่วย บิดา มารดาและครอบครัว คือ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่เด็ก หากบิดา มารดาและครอบครัว มีทัศนคติเชิงลบและมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องรวมทั้ง ไม่เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิต้านทานในเด็กและละเลยการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง รวมทั้งในยุคสมัยปัจจุบันสื่อโซเชียลในทางลบและไม่ตรงกับข้อเท็จจริงมากมายจะส่งผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีนในทางลบซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็ก กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดให้เด็กในแต่ละช่วงอายุควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในแต่ละช่วงอายุ ต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90 จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ปี 2567 พบมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีแนวโน้มที่ลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งจากการสำรวจประเด็นปัญหาที่ทำให้สามารถวิเคราะห์สาเหตุที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากผู้ปกครองรับรู้ข่าวสารที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงจากสื่อโซเชียลทำให้ผู้ปกครองขาดความตระหนัก ไม่เห็นความสำคัญของการรับวัคซีน นำเด็กมาฉีดวัคซีนช้ากว่ากำหนด จึงทำให้เข็มต่อไปช้าไปด้วย ผู้ปกครองกลัวว่าเด็กจะเป็นไข้ ผู้ปกครองไม่มีเวลาเนื่องจากต้องทำงาน เด็กต้องตามผู้ปกครองไปทำงานต่างถิ่น/ต่างประเทศ เด็กไม่อยู่ในพื้นที่และไม่สามารถติดตามให้เด็กมารับบริการฉีดวัคซีนได้ เป็นต้น นอกจากนี้ในส่วนของการทำประชุมคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ได้มีความเห็นสะท้อนในเรื่องปัญหาการได้รับวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปีที่ต่ำในมีกิจกรรมที่เน้นหนักในเรื่องของการสร้างทัศนคติเชิงบวก สร้างการรับรู้ที่ดีให้แก้ผู้ปกครองและผู้ดูแลและชุมชนซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุจึงได้จัดทำที่มีกิจกรรมเน้นหนักไปในการสร้างทัศนคติเชิงบวกครอบคลุมกับการลงให้บริการเชิงรุก ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอุเผะ มีประชากรเด็กอายุ 0 - 5 ปี จำนวน 391 คน เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ จำนวน 17คน คิดเป็นร้อยละ 4.35 ได้รับวัคซีนช้ากว่าเกณฑ์อายุ 182 คน คิดเป็นร้อยละ 46.54 และที่ไม่ได้รับวัคซีนเนื่องจากผู้ปกครองบายเบี่ยง จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 22.76 ซึ่งพบว่ายังเป็นปัญหาในการดูแลสุขภาพของเด็ก ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก 0 – 5 ปี คำแนะนำ แก่บิดา มารดา และครอบครัวของเด็ก ให้เห็นถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนตามวัย จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ได้เล็งเห็นปัญหาการไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขโดยต้องอาศัยจากเครือข่ายสุขภาพและประชาชนในพื้นที่ จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องมีการรณรงค์ให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่ ต้องได้รับการติดตาม เพื่อให้ได้รับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อลดอัตราป่วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 444 68,780.00 0 0.00 68,780.00
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการเสริมสร้าง ทัศนคติเชิงบวกเพื่อภูมิต้านทานที่เข็มแข็งในเด็ก 0 - 5 ปี ปี 2568 จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ขนาด 1 * 2 เมตร เมตรละ 250 บาท จำนวน 7 แผ่น 0 3,500.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ความสำคัญและประโยชน์ของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ0-5 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 2,3,4,5,6 ตำบลกรงปินัง โดยในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองที่มีบุตรได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์และหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ จำนวน 70 คน 70 13,700.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในเรื่องวัคซีนพื้นฐานในเด็ก 0 - 5 ปี ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน ผู้นำสุขภาพ ผู้ปกครองและผู้ดูแลบุตรอายุ 0-5 ปี แยกรายหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ครั้ง 224 47,080.00 - -
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบูรณาการรณรงค์สัปดาห์วัคซีน เพื่อติดตามและ ฉีดวัคซีนเด็กที่ไม่ได้มารับวัคซีนตามเกณฑ์ ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 0-5 ปี แยกรายหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ครั้ง 150 4,500.00 - -
รวมทั้งสิ้น 444 68,780.00 0 0.00 68,780.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 ผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีและมีความกระตือรือร้นในการนำบุตรหลานมารับวัคซีน 7.2 เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ10 7.3 เด็กอายุ 9 เดือน-1 ปี ได้รับวัคซีน MMR1 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ10 7.4 อัตราป่วยในเด็ก 0-5 ปี ที่เกิดจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลงจากปีผ่านมา ร้อยละ 30

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 16:09 น.