กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอุเผะ ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 07/68
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผอ.รพ.สต.บ้านอุเผะ
วันที่อนุมัติ 13 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 82,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต เป็นโรคเรื้อรังที่มีความสำคัญ เป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลกรวมถึง ประเทศไทย และมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่5 พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๗ และครั้งที่ ๖ พ.ศ ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ ในประชากรไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป พบว่าความชุกของโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๘.๘ เป็นร้อยละ ๙.๕ ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๔.๗  เป็นร้อยละ ๒๕.๔ โดยในจำนวนคนที่เป็นความดันโลหิตสูงนั้น สัดส่วนของผู้ที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๔๔.๗ เป็นร้อยละ ๔๘.๘ และสัดส่วนที่ได้รับการรักษาแต่ควบคุมไม่ได้ตามเกณฑ์เพิ่มจากร้อยละ ๒๐.๑ เป็น ๒๕.๐ สภาพปัญหาโรคบาหวาน ความดันโลหิตสูง เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกรงปินังพบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 810 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ จำนวน ๑๐๗,๗๘ และ ๘๙ คนตามลำดับ ซึ่งพบผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ HbA1c มากกว่าร้อยละ 7 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ มีผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียง ร้อยละ ๒๘.๒๒ , ๒๓.๗๙ และ ๒๗.๑๑ ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง  มีจำนวน ๒,๑๖๘ คนเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ จำนวน ๒๑๐ , ๒๓๕ และ ๑๗๗ คนตามลำดับ พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สามารถคุมความดันได้ ร้อยละ ๖๐ ๕๓ , ๕๐.๖๒ และ ๕๖.๘๔ ตามลำดับ
การได้รับความร่วมมือในการรักษาจากผู้ป่วย มีส่วนสำคัญต่อการควบคุมโรคให้ได้ตามมาตรฐาน และความรู้ในเรื่องโรคมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ อาการและภาวะแทรกซ้อน การปฏิบัติตัวในการจัดการตนเองในสภาวะต่างๆเพื่อควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ความเชื่อด้านสุขภาพเรื่องโรค ความเชื่อต่อโอกาสเสี่ยงของโรค ความเชื่อต่อความรุนแรงของโรค ความเชื่อต่อผลดีของการปฏิบัติตามคำแนะนำ แรงจูงใจที่จะปฏิบัติตาม และการจัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม จะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้นซึ่งจากการประเมินความรู้ด้านสุขภาพ ๓อ๒ส ในสถานบริการในปี ๒๕๖๗

                                                    / ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ...


ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรัง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ จำนวน 15๐ รายพบว่ามีปัจจัยด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมจำนวน 98 ราย เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดรองลงมา คือ การขาดออกกำลังกาย 102 ราย และด้านอารมณ์ 78 รายคิดเป็นร้อยละ 65.3, 68 และ 52 ตามลำดับ       ดังนั้นกลุ่มงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้จึงได้เกิดการทบทวนพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  จึงได้จัดโครงการพัฒนาคุณภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ประจำปี ๑๕๖๘ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยที่มีประสิทธิผล คือสามารถควบคุมโรคได้ดียิ่งขึ้น และจะเป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงรูปแบบการส่งเสริมดูแลสุขภาพในการดำเนินงานโรคต่อไป 2. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1) ร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยเบาหวาน/ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เข้าอบรมมีความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว3อ2ส   2.2) ร้อยละ 5๐ ของผู้ป่วยเบาหวาน/ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่มีความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และปฏิบัติการออกกำลังกาย   3.3) ร้อยละ ๔๐ ของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าร่วมอบรมสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีภายใน 3 เดือน จากการติดตามในกิจกรรมที่ 2 ในโครงการ และ 6 เดือนจากการติดตามในคลินิก NCD Remission ของสถานบริการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 มีการพัฒนาคุณภาพงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.บ้านอุเผะ ตามเกณฑ์ NCD Remission   7.2 ผู้ป่วยเบาหวาน/ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น     7.3 ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้     7.3 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันได้และมีความเสี่ยง CVD ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2568 16:25 น.