โครงการอสม.ชวนนับคาร์บ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) บ้านกาแบง
ชื่อโครงการ | โครงการอสม.ชวนนับคาร์บ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) บ้านกาแบง |
รหัสโครงการ | 2568 – L5314 - 2 - 06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านกาแบง |
วันที่อนุมัติ | 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 19 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 11,990.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอิศแนน กองบก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งกินอาหารไม่เหมาะสม และขาดการออกกำลังกาย กระทรวงสาธารณสุข จึงใช้กลไก อสม. ที่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพเบื้องต้นของคนในพื้นที่ เป็นผู้ส่งต่อความรู้ ความเข้าใจในการปรับพฤติกรรมการกินไปสู่ประชาชน โดยสอนให้เข้าใจถึงการคิดคำนวณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน และกินอาหารแบบนับคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต ที่มาจากกลุ่มข้าว แป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย ไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ส่วนที่เหลือให้เพิ่มเติมด้วยกลุ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ถั่ว และไขมันดี หรือยึดหลักง่ายๆ ว่า “โปรตีนอย่าให้ขาด คาร์บอย่าให้เกิน เพิ่มเติมด้วยไขมันดี”ส่งเสริมการออกกำลังกาย และสนับสนุนให้เกิดมาตการชุมชน เกิดการจัดตั้งศูนย์คนไทยห่างไกลโรคNCDsในชุมชน จากสถานการณ์การคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากร 35 ปีขึ้นไป ในหมู่บ้านหมู่ 2 บ้านกาแบง ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 จำนวนประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 356 คน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงฯ 328 คน คิดเป็นร้อยละ 92.13 พบว่า มีกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 15.44 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.84 พบผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 1 คน และ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 19.10 กลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3.37 พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใหม่ 0 คน ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านกาแบงจึงจัดโครงการอสม.ชวนนับคาร์บ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) บ้านกาแบง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินแบบนับคาร์บ ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ลดการเกิดผู้ป่วย NCDs รายใหม่
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 11,990.00 | 0 | 0.00 | |
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | 1.กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ อสม.ชวนนับคาร์บ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ให้กับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของหมู่บ้านกาแบง จำนวน 1 วัน | 0 | 8,000.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | 2. 1.ติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมอบรม ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค แรงบันดาลใจที่ทำให้ปรับเปลี่ | 0 | 3,750.00 | - | ||
19 - 30 ก.ย. 68 | 3.สรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ | 0 | 240.00 | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงเป็นกลุ่มปกติ 2. มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน 3. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 09:09 น.