กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลมะนังยง ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3046-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 14,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดินันท์ ทาหา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.813,101.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลของกรมอนามัย ได้คาดการณ์การมีภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุของประเทศไทยใน 20 ปีข้างหน้า โดยใช้ข้อมูลการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) จากฐานข้อมูล Blue Book ของสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาวิเคราะห์สัดส่วนการมีภาวะพึ่งพิง และพยากรณ์ภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ ใน 20 ปีข้างหน้าของประเทศไทย สรุปดังนี้ สถานการณ์การมีภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุของประเทศไทย จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่า ในปี 2565 ถึง 2567 สัดส่วนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยกลุ่มติดบ้าน เพศชายเพิ่มจากร้อยละ 2.2 เป็น 2.5 และเพศหญิงเพิ่มจากร้อยละ 3.2 เป็น 3.5 กลุ่มติดเตียง เพศชายเพิ่มจากร้อยละ 0.8 เป็น 0.9 และเพศหญิงเพิ่มจากร้อยละ 1.0 เป็น 1.2 ซึ่งสอดคล้องกับตำบลมะนังยง ที่มีผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง และจากผู้สูงอายุ เพิ่มมากขึ้น จากการดำเนินงานของทีมเยี่ยมบ้านพบว่าผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงส่วนใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนด้านกล้ามเนื้อและข้อ ซึ่งช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย มีอาการท้องผูกจากการที่ลำไส้ไม่เคลื่อนไหวเนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ขยับร่างกาย มีปัญหาแผลกดทับ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมา ตำบลมะนังยงมีทีมเยี่ยมบ้านที่เป็นผู้ดูแลหลัก ได้แก่ Care Giver อาสาสมัครสาธารณสุข และญาติผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงควรเพิ่มทักษะและความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาและต่อยอดให้การดูแลผู้ป่วยบรรลุผลยิ่งขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง และผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยเพิ่มทักษะด้านการดูแลดังนี้ การบริหารกล้ามเนื้อและข้อ การประคบสมุนไพร การนวดน้ำมันกระตุ้นสัมผัส การนวดกระตุ้นการกลืน การนวดกระตุ้นการขับถ่ายการดูแลแผลกดทับ และการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง จึงได้ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง จัดทำโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลมะนังยง ประจำปี2568 ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงให้แก่ผู้ดูแล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความรู้และเกิดทักษะในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ร้อยละ 100 ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ร้อยละ 80

20.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชนตำบลมะนังยงได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเหมาะสม ลดภาวะแทรกซ้อน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น

ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพโดยผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม ร้อยละ 100

15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
25 มี.ค. 68 กิจกรรมดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน 0 3,000.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง 0 11,200.00 -
รวม 0 14,200.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง
  2. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพและสามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2568 09:44 น.